ค่าความเสี่ยงของกองทุนรวมคืออะไร แปลยังไง??

เมื่อเข้าไปดูรายละเอียดของกองทุนรวมด้วยเว็บไซต์ของ wealthmagik.com หรือ morningstarthailand.com จะเห็นมีหัวข้อเรื่อง “ความเสี่ยง” ให้กดดูของกองทุนนั้นๆ

Image: wealthmagik.com


หรือเวลาที่เราเลือกการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนรวม เราจะเห็นค่า “ความเสี่ยง” ที่แสดงในการเปรียบเทียบ ได้แก่ ค่า Standard deviation, Sharpe ratio, Information ratio ค่าเหล่านี้คืออะไร มาอ่านสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ กัน..

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

มาเริ่มกันที่ Standard deviation กันก่อนเลย
ค่านี้คือค่า SD หรือความผันผวนของผลตอบแทนนั่นเอง การดูเฉพาะผลตอบแทนที่แสดงเป็น % อย่างเดียวคงไม่พอ สิ่งที่ต้องดูร่วมกันไปเสมอ คือ ค่าความผันผวนของผลตอบแทน หรือค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานที่เราเรียกค่า SD


ซึ่งค่านี้นอกจากจะเห็นในตอนเปรียบเทียบกองทุนรวมด้วยเว็บไซต์ของ wealthmagik.com หรือ morningstarthailand.com แล้ว ก็มีเขียนไว้ ในหนังสือชี้ชวน ในส่วนของผลการดำเนินงานด้วย เพราะเป็นค่าที่ต้องดูคู่ไปกับผลตอบแทนเสมอ ค่าความผันผวน(SD) สูง แปลว่ามีความผันผวนของผลตอบแทนมาก
เราควรหากองทุนที่มีผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ มากกว่าที่จะดีเลิศในบางปี และแย่ในปีอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เราเห็นผลตอบแทนรวมนั้นดูดีขึ้นมาได้ แต่ค่า SD จะกว้างมาก


ดังนั้นจึงควรดูค่า SD ประกอบด้วยในการดูคู่ไปกับการดูผลตอบแทน โดยค่ายิ่งน้อย ยิ่งดี โดยในหนังสือชี้ชวน จะเห็นค่า SD นี้ว่าเป็นยังไง เมื่อเทียบกับตัวชี้วัดของกองทุนนั้นๆ แต่ในการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนรวมแบบนี้ จะทำให้เห็นว่าเมื่อเทียบกับอีกกองทุนที่เราสนใจที่เป็นกองลักษณะเดียวกันแล้วเป็นยังไงบ้าง ขอย้ำอีกครั้งค่า SD หรือความผันผวนของผลตอบแทนนี้ยิ่งน้อย ยิ่งดีนะ

มาต่อกันที่ค่าที่ 2 ค่า Sharpe ratio
ค่านี้จะไม่ได้มีแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ แต่สามารถหาดูค่านี้ได้จากทั้งเว็บไซต์ของ wealthmagik.com และ morningstarthailand.com ค่า sharpe ratio นั้นจะนำผลตอบแทนของกองทุนมาเทียบกับผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย และปรับด้วยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานหรือค่า SD ของกองทุนรวม


จึงเป็นการมอง ผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เท่ากัน ดังนั้นกองทุนที่มีค่า Sharpe ratio สูง ก็แสดงว่าทำผลงานได้ดี (ยิ่งสูง ยิ่งดี) เช่น กอง A ค่า Sharpe ratio 0.9 ส่วนกอง B ค่า Sharpe ratio ได้ 0.3 แบบนี้กองทุน A ก็จะดูน่าสนใจกว่า


การดูค่า Sharpe ratio ควรดูแบบเปรียบเทียบกับกองอื่นที่คล้ายกันเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น โดยค่า Sharpe ratio ยิ่งสูง ยิ่งดีนะ

ค่าที่ 3 คือ ค่า Information ratio
เป็นการคิดโดยนำผลตอบแทนของกองทุนมาเทียบกับตัวชี้วัด (benchmark) และปรับด้วยค่า SD ของกองทุนค่า information ratio ยิ่งสูง ยิ่งดี เพราะบอกว่ากองทุนมีความสามารถในการสร้างผลตอบแทน ที่ดีกว่า ตัวชี้วัด เมื่อปรับด้วยความผันผวน

สรุปคือ กองทุนที่น่าสนใจคือ กองทุนที่มีผลตอบแทนดี และความผันผวนน้อย(SD น้อย) ค่า Sharpe ratio และ Information ratio ยิ่งมากยิ่งดีนะ และนอกจากพิจารณาเปรียบเทียบกองทุนรวมในเรื่องผลตอบแทนและค่าความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้แล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาเรื่องของค่าธรรมเนียมด้วยนะ

———————————–

E-book ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม การลงทุนในกองทุนรวมจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาเรื่องการลงทุน และติดตามการลงทุนมากนัก

ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เล่ารายละเอียดต่างๆ ของกองทุนรวม การค้นหาข้อมูลของกองทุนรวม วิธีการคัดเลือกกองทุนรวมที่ใช่สำหรับคุณ อธิบายอย่างเข้าใจง่ายเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เงินงอกเงย และมีความสุขในระหว่างทางที่ลงทุน

ใครสนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่าน และสั่งซื้อได้จาก OOKBEE ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

และสามารถสั่งซื้อได้ทาง Meb ได้ด้วยเช่นกันค่ะ

http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEyMzg1MyI7fQ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: