คำศัพท์ควรรู้ในการซื้อขายกองทุนรวม

ในการซื้อขายกองทุนรวมนั้นจะมีคำศัพท์ทางเทคนิคที่เขาใช้กัน ดังนั้นถ้าเราลงทุนในกองทุนรวม ก็ควรเข้าใจคำเหล่านี้ มีอะไรบ้างลองไปอ่านโพสนี้กัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

“Front-end fee และ Back-end fee”

ค่าธรรมเนียมจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมโดยตรง และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน การซื้อขายจะมองที่ตัว บลจ. เป็นหลักนะ

ซึ่งค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน หรือ Front-end feeเป็นค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่ายเมื่อซื้อหน่วยลงทุนจาก บลจ.และค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน หรือ Back-end fee คือค่าธรรมเนียมที่เราต้องจ่ายเมื่อ บลจ. รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากเรา(ก็คือเราขายคืนให้ บลจ. นั่นเอง)

ค่าธรรมเนียมนี้ บลจ. จะคำนวณให้ในราคาขาย ราคารับซื้อคืนของกองทุนรวมอยู่แล้ว ซึ่งจะสังเกตได้ว่าถ้ากองทุนนั้นๆ มีค่าธรมมเนียมนี้ เวลาที่กองทุนรวมประกาศราคาขายและราคารับซื้อคืนนั้น ราคาขาย และราคารับซื้อคืนจะต่างกันมูลค่าหน่วยลงทุน

“มูลค่าขั้นต่ำ” และ “ยอดคงเหลือขั้นต่ำ”

การซื้อขายกองทุนรวมสามารถทำได้เป็นจำนวนของหน่วยลงทุน หรือเป็นจำนวนเงิน แต่เขาจะมีกำหนดการซื้อขายขั้นต่ำไว้ ซึ่งแต่ละกองทุนก็จะแตกต่าง โดยรายละเอียดจะมีเขียนไว้ชัดเจนในหนังสือชี้ชวน เช่น

ซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน

มูลค่าขั้นต่ำของซื้อครั้งแรก 1,000 บ.

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป 1,000 บ.

มูลค่าขั้นต่ำของการขายคืน ไม่กำหนด

ยอดคงเหลือขั้นต่ำ 100 บ. / 10 หน่วย

ดังนั้นถ้าเราจะซื้อกองทุนรวมกองนี้ เราต้องซื้อครั้งละอย่างน้อยขั้นต่ำที่เขากำหนดไว้ขึ้นไป อย่างกองนี้ต้องซื้อย่างน้อยครั้งละ 1,000 บ. ขึ้นไป

ส่วนในการขายคืนของกองทุนนี้ไม่มีกำหนด เพียงแต่ต้องมียอดคงเหลือขั้นต่ำในบัญชีกองทุนนี้ตามที่เขกำหนดไว้

ขออธิบายเพิ่มเล็กน้อย

ยอดคงเหลือขั้นต่ำหมายถึง ถ้าเราต้องการขายคืนหน่วยลงทุน และต้องการให้เหลือมูลค่าบางส่วนไว้ในกองทุน จะต้องเหลือไม่น้อยกว่า ยอดคงเหลือขั้นต่ำของกองทุนที่กำหนดไว้ แต่ถ้าเราต้องการจะขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดก็สามารถทำได้ โดยที่เราต้องสั่งขายคืน เป็นจำนวนหน่วยลงทุนคงเหลือทั้งหมด

“T+จำนวนวัน”

ในการการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น กองทุนจะมีกำหนดระยะเวลาที่เราจะได้รับเงินจากการขายหน่วยลงทุน (คือวันที่เงินเข้ากระเป๋าเราจริงๆ) ซึ่งจะระบุเป็น T+จำนวนวัน

เช่น ถ้าเราขายหน่วยลงทุนในวันพฤ โดยกองทุนกำหนดระยะเวลาการคืนเป็น T+3 วันทำการ หมายความว่า เราขายหน่วยลงทุนในราคาขาย ณ สิ้นวันทำการในวันพฤ (T) แต่เงินเข้าบัญชีในวันที่ 3 หลังจากวันที่คำสั่งขายได้รับการยืนยันซึ่งก็จะเป็น วันอังคารในสัปดาห์ถัดไป เนื่องจากเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดจะไม่นับ

ดังนั้นในการขายหน่วยลงทุน เราได้ราคาขายของราคาปิด ณวันที่เราสั่งขาย แต่เงินจะเข้าบัญชีเราเมื่อไหร่ ก็แล้วแต่กองทุนนั้นกำหนดไว้ ซึ่งอาจเป็น T+2,  T+4 ก็แล้วแต่กองทุนนั้นๆ ซึ่งก็จะมีเขียนไว้ชัดเจนในหนังสือชี้ชวน ในหัวข้อ”ข้อมูลอื่นๆ” ตรง “ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน”  แต่ถ้าเป็นการสั่งซื้อนั้นจะตัดบัญชีเราในวันนั้นๆ เลยนะ

————————————
E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”

ที่อธิบายถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน
วิธีการเลือกกองทุนรวมลักษณะต่างๆ ให้เหมาะกับแผนการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ตราสารหนี้ การเลือกกองทุนหุ้นแบบ passive และ active fund รวมไปถึงกองทุนประหยัดภาษี

สนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่านและสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ ookbee และ meb ได้เลยนะคะ

OOKBEE: http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

MEB: http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: