อายุ 45 ปี ขึ้นไป ซื้อ SSF หรือ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีดี??

อายุ 45 ปี ขึ้นไป ซื้อ SSF หรือ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีดี หรือถ้าอายุน้อยกว่า 45 ปี ควรเลือกลดหย่อนภาษีกับ SSF หรือ RMF ดี ใครสงสัยในประเด็นนี้มาอ่านโพสนี้กัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

เนื่องจากกอง SSF ที่เหมือนจะมาแทน LTF ในการลดหย่อนภาษี ตั้งแต่ปีภาษี 63 นั้น มีเงื่อนไขที่ต่างไปจาก LTF เดิมพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องเงื่อนไขของการถือครองให้ครบตามเงื่อนไข เพราะ SSF นั้น จะต้องถือครอง 10 ปี นับแบบวันชนวัน ปีชนปี ของเงินแต่ละก้อนที่ซื้อลงทุน  ซึ่ง LTF เดิม นั้นนับเป็นปีปฏิทิน และถือ 7 ปีปฏิทิน

ส่วน RMF นั้น เงื่อนไขการนับระยะเวลาการถือครองจะนับต่างไปจาก SSF อย่างชัดเจน คือ เงื่อนไขที่จะขายคืนได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปี และถือครองมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเป็นการนับแบบวันชนวัน ปีชนปี และกฎหมายจะมองทั้งชุดครบ 5 ปี โดยดูวันที่ซื้อลงทุนครั้งแรกเป็นสำคัญ (โดยที่ระหว่างทางนั้นต้องไม่มีการขาย RMF นั้นออกมา) เช่น

มานีจะมีอายุครบ 55 ปี วันที่ 1 มกราคม 64

โดยมานีเริ่มลงทุน RMF ครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 58

และลงทุนต่อเนื่องมาทุกปี ในปี 2558, 2559, 2560, 2561, 2562, 2563

มานีจะขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดของ RMF ทุกกองที่ซื้อมาตั้งแต่ 2558-2563 ได้ตั้งแต่ 2 มกราคม 64 เป็นต้นไป เพราะถือครบ 5 ปี โดยนับจากวันที่เริ่มซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (1 ธันวาคม 58) เป็นหลัก และ อายุตั้งแต่ 55 ปี โดยกฎหมายจะถือ RMF ชุดนี้ทั้งหมดตั้งแต่ 2558-2563 ถือต่อเนื่องมาครบ 5 ปีแล้ว โดยการนับจะถือการลงทุนครั้งแรกเป็นสำคัญ เพื่อใช้สำหรับการครบเงื่อนไขเพื่อการขายคืน

การถือครอง RMF นั้นจะมองทั้งชุดทั้งก้อนเป็นหลัก ถึงจะนับแบบวันชนวัน ปีชนปีก็ตาม แต่ถ้าเมื่อไหร่มีการขายคืนไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งหมด การนับปีของชุดนี้ก็จะสิ้นสุดลง อย่างเช่น ตัวอย่างของมานี ถ้ามานี ขายคืน RMF บางส่วน เมื่อ 2 ม.ค. 64 การนับปีของชุดนี้จะสิ้นสุดลง และถ้ามานีต้องการซื้อ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีต่อ เพราะยังทำงานมีรายได้อยู่ การจะนับปี ต้องเริ่มจากวันที่มีการลงทุนครั้งใหม่นี้ ต่อไปอีก 5 ปี ดังนั้นถ้ายังทำงานมีรายได้และยังต้องเสียภาษี แนะนำว่า ก็ยังไม่ควรขายคืน RMF ที่ซื้อมา

เนื่องจากเงื่อนไขการถือครองที่มีความต่างกันชัดเจนของ SSF และ RMF หลายคนจึงมองว่า ถ้าอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ควรเลือกลงทุนเป็น RMF  เพราะระยะเวลาที่ต้องถือครองเพื่อครบเงื่อนไขนั้นจะสั้นกว่า โดยเฉพาะเงินก้อนหลังๆ ที่ใส่เข้าไป ตอนอายุใกล้ๆ จะ 55 ปี ระยะถือครองจะสั้นลง แต่นอกจากเรื่องระยะเวลาการถือครองแล้ว ก็อย่าลืมพิจารณาเงื่อนไขอื่น ๆ ของ SSF และ RMF ด้วยนะ ซึ่งด้านล่างได้ทำเป็น 5 ความต่างของ SSF และ RMF ไว้ให้อ่านกัน

ส่วนถ้าอายุน้อยกว่า 45 ปี จะเลือกกองทุนประหยัดภาษี เป็น SSF หรือ RMF ก็ได้ ซึ่งจริง ๆ RMF นั้นก็น่าสนใจ ถึงแม้จะอายุน้อย เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เราเก็บเงินเพื่อการเกษียณ ซึ่งเรื่องของการวางแผนเกษียณนั้น ควรวางแผนตั้งแต่เริ่มมีรายได้

ดังนั้น ถ้าใครมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี ก็ควรเริ่มวางแผนภาษี ไม่จำเป็นต้องรอให้ตัวเองต้องเสียภาษีมาก ๆ ก่อนค่อยวางแผนภาษี ซึ่งกองทุนประหยัดภาษีนั้นก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากได้ลดหย่อนภาษีแล้ว ยังได้ผลตอบแทนจากเงินลงทุนเพิ่มเติมด้วย และก็ควรพิจารณากองทุน RMF เป็นหนึ่งในตัวเลือกด้วย ไม่ว่าจะอายุน้อยหรืออายุมาก เพราะการวางแผนเกษียณควรเริ่มวางแผนตั้งแต่เริ่มทำงาน เพื่อที่จะได้อาศัยพลังเรื่องของเวลา ในการที่จะทำให้เงินทุนงอกเงย เพียงพอสำหรับการเกษียณ

————————————
E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”

ที่อธิบายถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน
วิธีการเลือกกองทุนรวมลักษณะต่างๆ ให้เหมาะกับแผนการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ตราสารหนี้ การเลือกกองทุนหุ้นแบบ passive และ active fund รวมไปถึงกองทุนประหยัดภาษี

สนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่านและสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ ookbee และ meb ได้เลยนะคะ

OOKBEE: http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

MEB: http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: