เบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บ. ใช่หรือเปล่า??

ช่วงนี้คนที่ต้องเสียภาษี ก็เริ่มวางแผนภาษี และหาค่าลดหย่อนภาษีมาเพิ่มเติม ซึ่งอย่างหนึ่งที่หลายคนมักนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษี ก็จะเป็นเบี้ยประกัน และบางคนอาจเคยได้ยินว่า เบี้ยประกันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 300,000 บ. การจะนำมาลดหย่อนได้ 3 แสนบาทนั้น ต้องอยู๋บนเงื่อนไขของอะไรบ้าง มาอ่านกัน…

เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และประกันชีวิตควบการลงทุน เราสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่เราทำของตัวเอง จากทุกกรมธรรม์ไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดได้ไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตที่จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ต้องเป็นแบบประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และถ้ามีเงินคืนทุกปีระหว่างสัญญา เงินคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี แต่ถ้าคืนเป็นช่วงระยะเวลา เช่น คืนทุก 3 ปี หรือ 5 ปี เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลานะ

ซึ่งจะเห็นว่า เบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป จะหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บ. อันนี้ได้ตามที่จ่ายจริง ไม่ได้ขึ้นกับรายได้เราว่าเท่าไหร่

ส่วนอีก 200,000 บ. จะเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ แต่ก็มีเงื่อนไขที่จะนำไปลดหย่อนในส่วนของ 200,000 บ. ตรงนี้ เพราะจะขึ้นกับรายได้ทั้งปีของเราด้วย เพราะเบี้ยประกันแบบบำนาญ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บ.

เช่น ถ้าเรามีรายได้ 1,000,000 บ. แต่ซื้อประกันบำนาญไป 200,000 บ. และประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บ. เราจะสามารถนำมาลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญได้แค่ 150,000 บ. เท่านั้น เพราะคิดเป็น 15% ของรายได้ จะเห็นว่า ถ้ารายได้เราประมาณนี้ เราจะลดหย่อนจากประกันได้ มากที่สุด 250,000 บ. (100,000 บ. จากประกันทั่วไป อีก 150,000 บ. จากประกันบำนาญ) เท่านั้น

เพราะประกันบำนาญจะติดเรื่องรายได้ทั้งปีของเรา และต้องคิดด้วยนะว่าการลดหย่อนภาษีของประกันบำนาญนั้น ต้องนำมารวมกับอย่างอื่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)/ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ RMF/ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กองทุนการออมแห่งชาติ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บ. ด้วยนะ และถ้าใครซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ก็ต้องนำมารวมในเพดาน 500,000 บ. นี้ด้วยนะ

ดังนั้นที่เขาบอกกันว่า ประกันสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บ. นั้น มาจากเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปซึ่งจะหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บ. ส่วนอีก 200,000 บ. จะเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ซึ่งประกันบำนาญนั้นต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า เราต้องมีรายได้ทั้งปีอย่างน้อย 1,333,333 บ. (เพราะรายได้เท่านี้ พอคิด 15% จะได้ 200,000 บ.) นะ เมื่อรวมทั้ง 2 อย่างตามเงื่อนไข ก็จะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บ.

หรือถ้าเรายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป อาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บ. จากประกันบำนาญได้ ตัวอย่างเดิม เรามีรายได้ 1,333,333 บ. แต่ซื้อประกันบำนาญไป 300,000 บ. แต่ไม่ได้ซื้อประกันทั่วไปเลย เราจะนำมาลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญได้ 200,000 บ. และเราสามารถนำส่วนของเบี้ยบำนาญอีก 100,000 บ. ไปหักลดหย่อนเป็นประกันชีวิตทั่วไปได้นะ

การวางแผนประหยัดภาษีอย่างหนึ่งคือ การมองหาค่าลดหย่อนมาเพิ่มเติม แต่ก็อย่าลืมดูเงื่อนไขของสิ่งที่จะนำมาลดหย่อนด้วยนะ

ข้อควรรู้เพิ่มเติม: เบี้ยประกันสุขภาพของเราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีในปี 2563 ได้มีการปรับเพิ่มจาก 15,000 บ. เป็น 25,000 บ. แต่ 25,000 บ. ตรงนี้ ก็ไปรวมกับประกันชีวิตแบบทั่วไป แล้วไม่เกิน 100,000 บ. นะ

———————————–

E-book ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม ที่เล่าถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน วิธีการเลือกกองทุนตลาดเงิน ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนประหยัดภาษี ใครสนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่าน และสั่งซื้อได้จาก OOKBEE ตามลิงค์นี้นะคะ

และสามารถสั่งซื้อได้ทาง Meb ได้ด้วยเช่นกันค่ะ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: