สำรวจตัวเอง อยู่รอด?? มั่งคั่ง??

ในการวางแผนทางการเงินนั้น เราควรรรู้ก่อนว่า สภาวะการเงินปัจจุบันของเราอยู่ในลักษณะไหน เพื่อที่เราจะได้มองออกว่า เราจะปรับจุดไหนได้ ลองมาสำรวจสถานะการเงินของตนเองกัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

งบการเงินส่วนบุคคลนั้นจะมีอยู่ 2 งบใหญ่ คือ งบดุล และงบรายรับรายจ่าย.งบดุลนั้นก็มาจากหลักการสมดุล 2 ข้าง ลักษณะเดียวกับงบดุลของกิจการ คือทรัพย์สิน = หนี้สิน + ทุน

ทรัพย์สิน จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ เงินสด และสิ่งที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว เช่น เงินฝาก ซึ่งเงินสำรองฉุกเฉิน ที่ เท่ากับค่าใช้จ่ายเราประมาณ 3-6 เดือน จะอยู่ในสินทรัพย์สภาพคล่อง

2. สินทรัพย์ส่วนตัว คือ ทรัพยสินที่เราไว้ใช้เอง เช่น รถ บ้าน แต่ถ้าเป็นอสังหาที่เราเอาไว้ปล่อยเช่า จะไปอยู่ในสินทรัพย์ลงทุน

3. สินทรัพย์ลงทุน เช่น หุ้น กองทุนรวม อสังหาปล่อยเช่าหรือเก็งกำไรเพื่อขาย

ส่วนหนี้สิน จะแบ่งเป็นหนี้สินระยะสั้นที่ต้องจ่ายใน 1 ปี และหนี้สินระยะยาว

งบดุลที่ดีคือ หนี้สิน น้อยกว่า ทุนซึ่งทุน ก็คือ ทรัพย์สิน หักออกด้วยหนี้สิน คือ ส่วนที่เราเป็นเจ้าของจริงๆ ในงบดุลส่วนบุคคล จะเรียกว่า ก็คือ ความมั่งคั่งสุทธิของเรา และเมื่อชีวิตผ่านไปเรื่อยๆ ควรมั่งคั่งสุทธิ (ทุน) ของเราก็ควรเพิ่มไปเรื่อยๆ

“รวยไม่รวย ดูที่ความมั่งคั่งสุทธิ”

งบรายรับรายจ่าย เป็นงบที่บอกพฤติกรรการใช้เงินของเราได้รายได้จะแบ่งเป็น

– active income คือ รายได้ที่ต้องลงแรง ลงเวลาตลอด หยุดก็จะไม่มีรายได้เข้ามา เช่น รายได้จากเงินเดือน

– passive income คือ รายได้ที่เราไม่ต้องลงแรง ลงเวลาตลอด ถ้าเราหยุด ก็ยังมีรายได้เข้ามา ซึ่งรายได้ที่เป็น passive income ซึ่งรายได้ที่เป็น passive income คือรายได้ที่เกิดจากส่วนของ “สินทรัพย์ลงทุน” นั่นเอง

ชีวิตที่ดีควรเป็นบวก คือมีเงินเหลือในแต่ละเดือน และเราควรมีรายได้อย่างน้อย 2 ทาง และควรมีรายได้ที่เป็น passive income เข้ามาด้วย ไม่ใช่มีรายได้เฉพาะ active income

ส่วนรายจ่ายจะแบ่งเป็น 2 อย่างใหญ่ๆ คือ

ค่าใช้จ่ายคงที่ จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการกู้หนี้ยืมสินมา ที่มีลักษณะที่ต้องจ่ายแน่นอน เช่น ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้าน ซึ่งต้องนี้จะสัมพันธ์ กับงบดุล ตรงที่ ถ้าในงบดุลเรามีภาระหนี้สินมาก ก็จะเกิดค่าใช้จ่ายตรงนี้มาก

และค่าใช้ผันแปร เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ที่มีลักษณะแปรเปลี่ยนได้ในแต่ละเดือน

“อยากเห็นพฤติกรรมการใช้เงิน ให้ดูงบรายรับรายจ่าย”

ในการเขียนงบรายรับรายจ่าย จะเห็นว่า จะเขียนรายรับเป็นตัวตั้ง และหักด้วยค่าใช้จ่าย แต่ในชีวิตจริง ควรเป็น รายรับ และหักการออมก่อน และเหลือจากนั้นค่อยนำไปใช้จ่าย

“ออมให้พอ ที่เหลือจะได้ใช้ได้อย่าสบายใจ”

จะเห็นว่า ทั้งงบดุล และงบรายรับรายจ่ายนี้มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เพราะเงินที่เหลือในแต่ละเดือนนั้นจะทำให้ทรัพย์สินของเราเพิ่มขึ้นได้ ส่วนจะไปเพิ่มสินทรัพย์ลักษณะไหน ก็จะขึ้นอยู่กับเรา ถ้าสภาพคล่องพื้นฐานยังไม่พอ ควรไปที่สินทรัพย์สภาพคล่องก่อน แล้วควรไปที่สินทรัพย์ลงทุน เพื่อจะเป็นแหล่งให้เกิดรายรับ และสร้างความมั่งคั่งต่อได้

นอกจากนั้นในการดูงบการเงินส่วนบุคคล ก็จะมีการดูอัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนที่ไว้บอกสภาพคล่องมี 3 อัตราส่วน โดยเฉพาะอัตราส่วนสภาพคล่องพื้นฐานที่เราต้องมีนั้น ไว้บอกว่า ถ้าเราไม่มีรายรับเข้ามา เงินที่เรามีอยู่ จะพอใช้จ่ายได้อีกกี่เดือน หรือที่เรียกกันว่า “เงินสำรองฉุกเฉิน” ที่เราควรต้องมีอย่างน้อยเท่ากับรายจ่ายเราประมาณ 3-6 เดือน เพื่อที่เวลาที่เราไม่มีรายได้เข้ามา เรายังมีเงินตรงนี้ไว้สำหรับใช้จ่ายได้ ระหว่างที่รองานใหม่ หรือรายได้ใหม่เข้ามา

หนี้สินก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายหนี้ ถ้าให้ดีควรไม่เกิน 35% หรืออย่างมากที่สุดไม่เกิน 45% นั้น เช่น ถ้าเรามีรายได้ 100 บ. ต่อเดือน ไม่ควรต้องจ่ายหนี้เกิน 45 บ. เพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีเงินในการไปจ่ายรายจ่ายอื่น และไม่มีเงินมาออม

นอกจากนั้นเราควรมีโอกาสในการสร้างความมั่งคั่ง ดังนั้นสัดส่วนเงินออมควรอย่างน้อย 10% ของรายได้ ขึ้นไป และสินทรัพย์ลงทุนควรจะเกินครึ่งหนึ่ง (50%)ของความมั่งคั่งสุทธินะ

ลองสำรวจสภาวะการเงินของตนเองดูกันนะ และหลังจากที่เราได้สำรวจการเงินของตัวเองแล้ว ก็มาดูว่า เราจะปรับตรงจุดไหนให้ดีขึ้นได้บ้าง ลองทำกันดูนะ

———————————–

E-book ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม ที่เล่าถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน วิธีการเลือกกองทุนตลาดเงิน ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนประหยัดภาษี

ใครสนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่าน และสั่งซื้อได้จาก OOKBEE ตามลิงค์นี้นะคะ

http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

และสามารถสั่งซื้อได้ทาง Meb ได้ด้วยเช่นกันค่ะ

http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEyMzg1MyI7fQ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: