“ซื้อขายหุ้น” นำมาลดหย่อนใน “ช้อปดีมีคืน” ได้ไหม

ใครลงทุนหุ้นด้วยตัวเอง และสงสัยในเรื่องนี้มาอ่านโพสนี้กัน….

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

มาดูเงื่อนไขช้อปดีมีคืนกันก่อน…

– สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษี 65 ( ที่ยื่นตอนต้นปี 66 )

– ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่มี VAT, ค่าซื้อหนังสือและสินค้า OTOP ในช่วงวันที่ 1 ม.ค. 2565 -15 ก.พ. 2565

– นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บ.

ส่วนในเรื่องการซื้อขายหุ้น ที่เข้าเกณฑ์บริการที่จดทะเบียน VAT คือ ในเรื่องของค่าธรรมเนียม ซึ่งรายละอียดค่าธรรมเนียมจะเป้นแบบนี้นะ

1. ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือที่เรียกว่าค่าคอมมิชชั่นการคิดค่าใช้จ่ายนี้ก็ขึ้นกับวิธีการสั่งซื้อขาย และลักษณะบัญชี ค่าคอมมิชชั่นมักจะใกล้เคียงกันในแต่ละโบรกเกอร์แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถไปดูได้ที่หน้าเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ที่ตนเองใช้บริการว่ามีการคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไร

ถ้าซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่ โทรศัพท์ให้คุณมาร์เกตติ๊ง พิมพ์คำสั่งการซื้อขายให้ ซึ่งข้อดีคือ ถ้ามีการพิมพ์คำสั่งซื้อขายผิด บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เขาจะรับผิดชอบให้ ซึ่งจะคิดค่าคอมนี้ 0.25% สูงกว่าการคีย์คำสั่งซื้อขายด้วยตนเองทางออนไลน์.และถ้าซื้อขายผ่าน internet (พิมพ์คำสั่งการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง)

– บัญชีเงินสด Cash account (วงเงินการซื้อขายหลักทรัพย์ สั่งซื้อไปก่อน และค่อยมาหักบัญชีธนาคารที่ผูกไว้กับบัญชีหุ้น) 0.20%

– บัญชีเติมเงิน Cash balance (ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามจำนวนเงินที่ฝากในบัญชีหุ้น) เสียค่าคอมนี้ 0.15%

– บัญชี Credit balance (วงเงินการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์) เสียค่าคอมมิชชั่น 0.15%

ซึ่งบาง บล. จะมีการกำหนดค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำไว้ เช่น 50 บาทต่อวัน บางโบรกที่ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำไว้ และถ้าเราซื้อขายเป็นมูลค่าเงินจำนวนมาก ค่าคอมมิชชั่นนี้อาจได้รับส่วนลดเพิ่ม

2. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บ ซึ่งในนี้จะมีอีก 3 ค่าธรรมเนียมย่อยดังนี้

ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (SET Trading Fee): 0.005%

ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee): 0.001%

ค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแล (Regulatory Fee) : 0.001%

ซึ่งรวมทั้ง 3 ค่าใช้จ่ายนี้ก็คือ 0.007%

3. ค่าธรรมเนียมตัดชำระราคาบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีธนาคาร หรือ ATS (Automatic Transfer System) ซึ่งถ้าเรามีการหัก/ โอนเงินค่าซื้อขายหุ้นผ่านธนาคาร จะมีค่าธรรมเนียมนี้เพิ่มเข้าด้วย ค่าธรรมเนียมนี้ 14 บ. (ยังไม่รวม VAT 7%) ต่อครั้ง

ค่าธรรมเนียมที่เล่ามาจะมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% การคิดภาษีตรงนี้ จะคิดภาษีจากค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสีย “ไม่ได้คิดภาษีจากราคาหุ้นที่เราซื้อ” นะ

สรุป!! สามารถนำเฉพาะในส่วนของค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น ที่มีการซื้อขายในช่วง 1 ม.ค. -15 ก.พ. 65 มาลดหย่อนภาษีได้ในช้อปดีมีคืน เนื่องจากเป็นบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนะ ส่วนหลักฐานเพื่อยื่นสรรพากร ก็ต้องเก็บใบกำกับภาษีที่เราซื้อขายหุ้นจากโบรกเกอร์ไว้ด้วยนะ ปกติเขาจะส่งให้ทุกครั้งที่มีการซื้อขายอยู่แล้ว

————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: