บางคนอาจเข้าใจว่า การคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีเฉพาะการคิดภาษีแบบขั้นบันไดเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าเรามีลักษณะรายได้อื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน อาจต้องลองคิดภาษีแบบเหมา 0.5% ด้วย การคิดภาษีแบบขั้นบันได และแบบเหมาเป็นยังไง และต้องใช้แบบไหน เมื่อไหร่ มาอ่านกันได้จากโพสนี้กันค่ะ
สนใจรับชมแบบวีดีโอ กดรับชมได้จากลิงค์นี้กันค่ะ
มารู้จักการคิดภาษีแบบขั้นบันไดกันก่อน
ภาษีแบบขั้นบันได้ ยิ่งมีเงินได้สุทธิมากยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นขั้นบันได

นำรายได้ทั้งปีของเรามาคิด หักด้วยค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดว่าหักได้เท่าไหร่แล้ว เช่น เงินเดือน รายได้เป็น 40(1) ซึ่งรายได้ 40(1) หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% เงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ.
พอเราหักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะนำมาหักค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. ประกันชีวิต SSF RMF เป็นต้น
ซึ่งก็จะเป็นแบบนี้ รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ตรง “เงินได้สุทธิ” นี้เองที่เราจะนำเข้ามาคำนวณอัตราภาษี ซึ่งอัตราภาษีของบ้านเรา จะใช้เป็นแบบขั้นบันได ตามในรูปนะ
การคำนวณอัตราภาษีนี้ เราต้องคิดภาษีของเงินได้แต่ละฐานของเรา เป็นบันไดแต่ละขั้นที่ต้องก้าวไปจากขั้นแรก และบวกสะสมแต่ละขั้นกันไปเรื่อย ๆ แบบนี้…
ตัวอย่าง คิดภาษีของปี 2564 มนุษย์เงินเดือน โสด พ่อแม่ยังมีเงินได้จึงไม่สามารถนำค่าลดหยอ่นเลี้ยงดูพ่อแม่มาลดหย่อนได้ มีเงินเดือน 40,000 บ. ต่อเดือน มีค่าลดหย่อนเพิ่มแค่เรื่องของประกันสังคม ซึ่งเมื่อปี 64 รัฐมีการปรับลดเงินที่หักเข้าประกันสังคม ของปี 64 สูงสุดก็จะเป็นแค่ 5,100 บ. ลองดูกันว่า จะเสียภาษีเท่าไหร่
เริ่มจาก
เงินได้ทั้งปี 40,000 บ. X 12 เดือน = 480,000 บ. ต่อปี เป็นรายได้ 40(1)
กฎหมายกำหนดว่า รายได้ 40(1) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ. ดังนั้นจะหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด ตรงนี้ แค่ 100,000 บ.
ค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ.
ประกันสังคม 5,100 บ.
เงินได้สุทธิที่ต้องนำไปคำนวณอัตราภาษี คือ
480,000 – 100,000 – 60,000 – 5,100 บ. = 314,900 บ.
มาดูกันที่อัตราภาษีแบบขั้นบันไดกัน ที่ต้องเริ่มกันที่ตั้งแต่ก้าวแรก หรือขั้นแรก แล้วบวกขึ้นไปเรื่อยๆ
เริ่มกันที่ขั้นที่ 1 จากตาราง เงินได้ในขั้นแรก 150,000 บ. แรก ไม่เสียภาษี ดังนั้น 150,000 บ. แรกของเรา ขั้นนี้ ภาษีที่ต้องเสีย คือ 0
มาขั้นที่ 2 เงินได้ที่มากกว่า 150,000 จนถึง 300,000 บ. เสีย 5% ซึ่งช่วงนี้ ก็คือเงินได้ของเราในช่วงนี้ทั้งหมด คือ 150,000 บ. ก็ต้องถูกนำมาคิดภาษี ในอัรา 5% ขั้นที่ 2 นี้ เราจะเสียภาษี = 150,000 X 5% = 7,500 บ.
แต่เงินได้ของเรา 314,900 บ. มีอยู่ในช่วงที่เกิน 300,000 บ.ขึ้นไปด้วย จึงยังไม่เสร็จ ต้องเดินก้าวขึ้นไปในขั้นบันไดถัดไปต่อ
มาขั้นที่ 3 เงินได้ที่มากกว่า 300,000 จนถึง 500,000 บ. เสีย 10% โดยที่เงินได้เรา จะอยู่ในช่วงนี้ 14,900 บ. เราก็นำตรงนี้มาคูณด้วยอัตราภาษี 10% = 14,900 บ. X 10% = 1,490 บ.
จะเห็นว่าเงินได้เราสุดอยู่ตรงขั้นนี้ ก็ไม่ต้องเดินต่อไปในขั้นถัดไป ทีนี้เราก็เอาแต่ละขั้นที่เราสะสมไว้ในทั้ง 3 ขั้น มาเป็นภาษีที่เราต้องจ่าย แบบนี้
= 0 บ. + 7,500 บ. + 1,490 บ.= 8,990 บ.
สรุป ภาษีที่เราต้องเสียทั้งปีก็จะเท่ากับ 8,990 บ.
ถ้าเรามีลักษณะของรายได้หลายแบบ ให้นำแต่ละเงินได้มาหักด้วยค่าใช้จ่ายแต่ละแบบก่อน หลังจากนั้นค่อยนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมารวมกัน แล้วค่อยไปหักค่าลดหย่อน เช่น คุณหมอเอ มีรายได้ เงินเดือนเป็น 40(1) รายได้เอกชนเป็น 40(6)
[(เงินได้ 40(1) – ค่าใช้จ่ายตาม 40(1)) + (เงินได้ 40(6) – ค่าใช้จ่ายตาม 40(6))} – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ส่วนการคำนวณแบบเหมาที่คิดอัตรา 0.5% จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อ มีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) และคำนวณแบบเหมาแล้วค่าภาษีเกิน 5,000 บ. ก็คือ ต้องมีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) เกิน 1,000,000 บ. นั่นเอง เพราะ 1,000,000 บ. X 0.005 = 5,000 บ. (ถ้าคิดภาษีแบบเหมานี้ง่ายๆ ก็คือ เสียล้านละ 5,000 บ. นะ) และคิดออกมาแล้วแบบหมาเสียมากกว่า แบบขั้นบันได ถึงจะใช้แบบเหมา
ซึ่งโดยทั่วไปภาษีแบบขั้นบันไดจะเสียภาษีสูงกว่า จึงมักใช้แบบขั้นบันได
การคิดแบบเหมาแล้วเสียมากกว่าจะเป็นกรณีที่มีรายได้ลักษณะอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน และหักค่าใช้จ่ายได้มาก และมีค่าลดหย่อนมาก
สรุปก็คือ ให้คิดภาษีแบบขั้นบันไดที่เล่าไปก่อนหน้าก่อน และถ้ามีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) เกิน 1,000,000 บ. ลองมาคิดแบบเหมาดู และต้องเสียภาษีตามที่คิดออกมาแล้วมากกว่านะ ถ้าแบบบขั้นบันได เสียมากกว่า ก็คือใช้แบบขั้นบันได
————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
เรียนจบ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง
เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
