เก็บเงินเพื่อเกษียณและลดหย่อนภาษี

RMF และ ประกันบำนาญ เป็นการเก็บเงินเพื่อการเกษียณอายุ และใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งคู่ ซึ่งในแต่ละแบบก็จะมีเงื่อนไข และลักษณะแตกต่างกันนะ มาอ่านโพสนี้กัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ กดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

RMF(Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งเงื่อนไขของ RMF แบบนี้…

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30%ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บ. เมื่อรวมกับ SSF/ประกันบำนาญ/PVD/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช.

– ไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำ แต่ต้องลงทุนทุกปี ขาดได้ไม่เกิน 1 ปีติตต่อกัน

– ขายคืนได้ อายุตั้งแต่ 55 ปี และถือครองมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเป็นการนับแบบวันชนวัน ปีชนปี และมองทั้งชุดครบ 5 ปี โดยดูวัน ที่ซื้อลงทุนครั้งแรกเป็นสำคัญ

ซึ่งเราจะเห็นกันว่า RMF นั้นมีตั้งแต่ที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงน้อยอย่างกองทุนรวมตลาดเงิน ไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีความผันผวนมากอย่างหุ้น ทองคำ น้ำมัน ที่สามารถลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดังนั้นผลตอบแทนและความผันผวนระหว่างทาง ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะสินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุน สามารถสลับสับเปลี่ยนกอง RMF ด้วยกันได้ และทุกกองของ RMF นั้นไม่มีปันผล

การขายคืน RMF แบบถูกเงื่อนไข จะขายคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีปริบูรณ์ และลงทุนมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี และสามารถขายคืนได้ทั้งหมดทุกก้อนที่เคยซื้อมา แต่ถ้าเราจะถือไว้ และค่อยๆ ขายเพื่อค่อยๆ นำเงินออกมาใช้ตอนเกษียณ ก็สามารถทำได้ ซึ่งเงินที่ยังอยู่ในกองนั้นก็ได้ผลตอบแทนตามแต่ละกองที่เราลงทุนไว้ ตรงนี้ก็จะขึ้นกับเราบริหารเงินของเรา

ส่วนประกันบำนาญนั้น เป็นการเก็บออมเพื่อการเกษียณอย่างหนึ่ง ซึ่งประกันบำนาญสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 200,000 บ. แต่ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป อาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บ.

เช่น ถ้าเรามีรายได้ 1,000,000 บ. ซื้อประกันบำนาญไป 200,000 บ. และประกันชีวิตทั่วไป 100,000 บ. เราจะสามารถนำมาลดหย่อนในส่วนประกันบำนาญได้แค่ 150,000 บ. เท่านั้น เพราะคิดเป็น 15% ของรายได้

แต่ถ้าเราซื้อประกันชีวิตทั่วไปแค่ 50,000 บ. ยังเหลือส่วนสิทธิประกันชีวิตทั่วไปอีก 50,000 บ. เราสามารถนำส่วนของเบี้ยบำนาญอีก 50,000 บ. ไปหักลดหย่อนเป็นประกันชีวิตทั่วไปได้

และเมื่อรวมกับ SSF/RMF/PVD/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช. แล้วไม่เกิน 500,000 บ.

ซึ่งการจ่ายเบี้ยนั้น เดี๋ยวนี้ก็มีทั้งแบบสั้น แบบยาว เช่น 1 ปี, 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี ตามแต่ที่กรมธรรม์นั้นกำหนดไว้

ส่วนการได้รับผลตอบแทนนั้น จะไม่มีเงินคืนให้ระหว่างทาง แต่จะจ่ายเงินคืนให้เราเป็นจำนวนเท่า ๆ กันทุกปี ตั้งแต่เริ่มเกษียณ อายุ 55 ปี ไปจนถึงอายุ 85, 90, 95 หรือ 99 ปี ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งจะเห็นว่ามีความคล้ายกับ “เงินบำนาญ”

ผลตอบแทนถ้าคิดจากเงินที่เราจ่ายเบี้ยเข้าไปกับที่ต้องที่ทิ้งไว้ในนั้นนาน เมื่อคิดเป็นผลตอบแทนต่อปีอาจไม่สูง แต่ผลตอบแทนที่ได้แน่นอน ถ้าเราทำได้ครบตามที่เขากำหนดไว้ และข้อเด่นคือ ให้ผลตอบแทนไปจนถึงอายุมากๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้มีไปจนถึง 95 หรือ 99 ปี ได้

RMF และ ประกันบำนาญ เป็นการเก็บเงินเพื่อการเกษียณอายุ และใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งคู่ ซึ่งแต่ละแบบก็มีเงื่อนไข ผลตอบแทนที่ได้ต่างกัน ลองพิจารณาถึงเงื่อนไข และแผนการเงินของแต่ละคนนะ

—————————-

สอบถามเรื่องประกันที่สนใจ สามารถติดต่อพูดคุยได้ที่ คุณพรพรรณ (ตั๊ก)

Line ID: march_ps กด add line จากลิงค์นี้ได้เลยนะคะ https://line.me/ti/p/BQ2JSrXX8D

หรือ โทร 0964411096 ได้นะคะ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: