เงินบำนาญจากประกันสังคม ได้เท่าไหร่

ประกันสังคม เป็นตัวช่วยหนึ่งสำหรับเงินเกษียณ ถึงจะไม่ได้มาก แต่ก็เป็นสิทธิหนึ่งที่เราได้รับจากประกันสังคมที่เราถูกหักไปในแต่ละเดือน

ประกันสังคม หักเงินสมทบจากเงินเดือนเราเข้า ปกส. โดยคิด 5% ของเงินเดือน โดยคิดเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บ. จึงหักเงินสมทบสูงสุด 750 บ./เดือน

ส่วนของนายจ้างก็จะสมทบเข้ามาในลักษณะเดียวกัน

สนใจรับชมแบบวีดีโ กดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

หนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่เราได้รับ คือ กรณีชราภาพ ซึ่งจะได้เมื่ออายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ส่วนจะได้เป็นบำนาญ หรือบำเหน็จขึ้นกับจำนวนเดือนที่เราหักเงินเข้าประกันสังคม ตัดที่ 180 เดือน ลองอ่านในภาพประกอบนะจะได้เข้าใจมากขึ้น

ประกันสังคม มาตรา 33 (ที่เราทำงานและถูกหักจากเงินเดือน) จะคิดเงินเดือนสูงสูด ไม่เกิน 15,000 บ.

ส่วน ประกันสังคมมาตรา 39 ที่เคยเป็น ม. 33 และออกจากงาน และยังส่งประกันสังคมเองต่อ ตรงนี้จะคิดเงินเดือน 4,800 บ. ที่จะไปคิดเงินชราภาพนะ

เช่น จ่ายเงินประกันสังคม ภายใต้ ม. 33 มา 14 ปี (168 เดือน) ส่งตัวเองต่อภายใต้มาตรา 39 อีก 1 ปี (12 เดือน) รวมส่มา 180 เดือน

เงินเดือนเฉลี่ยย้อนหลัง 60 เดือนสุดท้ายที่มาเป้นฐานในการคิดเงินชราภาพจะเป้นแบบนี้ [(15,000 x 48) + (4,800 x 12)] / 60 = 12,960 บ.

จะได้เงินบำนาญชราภาพ = 12,960 x 20% = 2,592 บ.ต่อเดือนนะ

ในภาพประกอบะเป็นเงินบำนาญชราภาพ ที่คิดตาม ม. 33 นะ โดยเงินเดือนเฉลี่ยย้อนหลัง 60 เดือนที่เป็นฐานในกาคิดเงินชราภาพคือ 15,000 บ. นะ

เงินที่ได้จาก ปกส. ที่ได้ตรงนี้ไม่ได้มาก ควรต้องหาอย่างอื่นมาช่วยเพื่อการเก็บเงินเพื่อเกษียณด้วยนะ

———————————–

คอร์สออนไลน์ I-INVESTOR

คอร์สที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้

มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

https://www.skilllane.com/courses/i-investor
Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: