เลือกลดหย่อนด้วย SSF หรือ RMF ยังไงดี มาอ่านกัน
เริ่มจาก อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีไหม??
ปี 65 นี้ ถ้ารายได้ที่เป็นเงินเดือนไม่เกิน 316,300 บ./ปี และมีแค่ลดหย่อนประสังคม ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี ซึ่งไม่ได้ประโยชน์จากกองประหยัดภาษี ถ้าอยากลงทุนให้ลงทุนกองทุนรวมทั่วไป
ตัวเลข 316,300 บ. คิดจากรายได้ที่เป็น 40(1),(2) หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บ. ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. ลดหย่อนประกันสังคมปี 65 นี้สูงสุด 6,300 บ. และเงินได้สุทธิ 150,000 บ. แรกไม่เสียภาษี
เป้าหมายของการลงทุน??
– SSF เป้าหมายเก็บเงินเพื่อใช้ในอีก 10 ปี ข้างหน้า
– RMF เป้าหมายเพื่อเกษียณ และยิ่งถ้าที่ทำงานไม่มี PVD/กบข. ค่อยๆ เก็บ และใช้เวลา เพื่อให้โตพอสำหรับเกษียณ

ระยะเวลาการถือครองเพื่อครบเงื่อนไข??
– SSF นับแบบวันชนวัน ปีชนปี ของเงินแต่ละก้อนที่ลงทุน
– RMF อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป และลงทุนมาอย่างน้อย 5 ปี โดยนับการลงทุนครั้งแรก ดังนั้นถ้าอายุ เกิน 45 ปี ปีหลังๆ ที่ซื้อจะถือไม่กี่ก็ขายได้ อาจทำให้คล่องตัวในการบริหารเงินหลังเกษียณ
รายได้ในปีถัดๆไปเป็นยังไงบ้าง??
– SSF ไม่มีข้อผูกผันที่ต้องซื้อทุกปี
– RMF ต้องซื้อทุกปี ขาดได้ไม่เกิน 1 ปี ติดต่อกัน แต่ก็ยืดหยุ่นที่ไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำ
ต้องการเงินปันผลระหว่างทาง??
– SSF มีทั้งแบบปันผล และไม่ปันผล ให้เลือก
– RMF ทุกกองไม่ปันผล
เพดานการซื้อ??
SSF จะมีเพดาน 200,000 บ. ไว้ด้วย ถ้ารายได้สูง ต้องการค่าลดหย่อนมาก ก็พิจารณาซื้อทั้ง SSF, RMF
การลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีนี้มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตาม เพื่อจะได้ไม่มีความยุ่งยากตามมา ดังนั้นจึงควรศึกษาเงื่อนไข และวางแผนการเงินให้พร้อมในการที่จะทำตามเงื่อนไขนะ
เงื่อนไขของ SSF
1. ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บ. และรวมกับ RMF/ PVD/กบข./ ประกันบำนาญ/ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช. แล้วไม่เกิน 500,000 บ.
2. นโยบายการลงทุนมีให้เลือกหลากหลายสินทรัพย์ลงทุน แบบมีปันผลและไม่มีปันผล
3. ไม่ต้องซื้อทุกปี ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น
4. ไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำในการลดหย่อนภาษี แต่อาจมีขั้นต่ำที่กองทุนกำหนดไว้
5. ถือให้ครบ 10 ปี ซึ่งเป็นการนับแบบวันชนวัน ถึงขายคืนได้ตามเงื่อนไข
6. การลดหย่อนภาษีสามารถใช้ลดหย่อนได้ในปีภาษี 2563 – 2567
7. ส่วนต่างกำไรได้รับยกเว้นภาษี ถ้าทำถูกเงื่อนไข ส่วนเงินปันผลเสียภาษี
เงื่อนไขของ RMF
1. ซื้อได้ไม่เกิน 30%ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บ. เมื่อรวมกับ SSF / PVD/กบข./ประกันบำนาญ/กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช.
2. นโยบายการลงทุนมีให้เลือกหลากหลายสินทรัพย์ลงทุน ทุกกองไม่มีปันผล
3. ต้องซื้อทุกปี เว้นได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน
4. ไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำในการลดหย่อนภาษี แต่อาจมีขั้นต่ำที่กองทุนกำหนดไว้
5. ลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องอายุเกิน 55 ปี ถึงขายคืนได้ตามเงื่อนไข
6. สามารถใช้ลดหย่อนได้เรื่อยๆ ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น ไม่มีกำหนดอายุไว้เหมือน ssf ที่ลดหย่อนได้ถึงปี 67
7. ส่วนต่างกำไรได้รับยกเว้นภาษี ถ้าทำถูกเงื่อนไข
และที่เพิ่มเติมสำหรับที่ซื้อต้งแต่ 1 ม.ค. 65 เป็นต้นไป ต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้เพื่อลดหย่อนภาษีกับทาง บลจ. และทาง บลจ. ก็จะส่งข้อมูลของเราไปที่กรมสรรพากร เพื่อทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปหาอ่านได้ใน ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๔๑๔ และ ๔๑๕) นะ
——————————————————————–
E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”
การลงทุนในกองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการลงทุนอย่างหนึ่ง และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาเรื่องการลงทุน และติดตามการลงทุนมากนัก
ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงสินทรัพย์แต่ละประเภทคืออะไร เหมาะอย่างไร และรายละเอียดต่างๆ ของกองทุนรวม การค้นหาข้อมูลของกองทุนรวม วิธีการคัดเลือกกองทุนรวมที่ใช่สำหรับคุณ อธิบายอย่างเข้าใจง่ายเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เงินงอกเงย และมีความสุขในระหว่างทางที่ลงทุน
สนใจสามารถสั่งซื้อออนไลน์ จาก OOKBEE ได้ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.ookbee.com/Shop/Book/77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed
และสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ meb ได้แล้วเช่นกันค่ะ http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEyMzg1MyI7fQ
