3 หลักคิดว่าควรซื้อ SSF เท่าไหร่

การลงทุนใน SSF เป็นการลงทุนในกองทุนรวมลักษณะหนึ่งที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีเป็นของแถม โดยมีเงื่อนไขบ้างอย่างกำกับไว้ ซึ่งหลายคนมักสนใจ นำ SSF มาเป็นตัวลดหย่อนภาษี มาลองอ่านกันว่า 3 หลักคิดว่า ควรซื้อ SSF เท่าไหร่ มีอะไรบ้าง มาอ่านกัน

1. ประเมินรายได้ทั้งปี เพื่อจะรู้เบื้องต้นก่อนว่า เราสามารถซื้อ SSF ได้เต็มที่เท่าไหร่ ไม่ควรซื้อเกิน เพราะไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ยังมีความยุ่งยากตามมาด้วย ดังนั้นประเมินรายได้เราทั้งปีก่อน

เช่น มานะเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โสด เงินเดือน 40,000 บ./ เดือน รายได้ทั้งปี คือ 4800,000 บ. จึงสามารถซื้อ SSF ได้สูงสุด คือ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000บ. ดังนั้นจะซื้อ SSF ได้สูงสุด 144,000 บ.

2. ลองคิดภาษีที่ต้องเสีย และดูว่า เราเสียภาษีถึงประมาณฐานไหน เพราะ SSF คือค่าลดหย่อน ซึ่งไม่เท่ากับการลดภาษี ดังนั้นการลงทุนใน SSF หรือการนำค่าลดหย่อนอื่นมาหักเพิ่ม คนที่เสียฐานภาษีสูงจะประหยัดภาษีได้มากกว่า ถ้าเราคิดภาษีของเราเองได้ตรงนี้จะทำให้เราพอรู้ว่า ถ้าเราลงทุน SSF เราจะลดภาษีได้เท่าไหร่

ลองดูคิดภาษีของมานะ และดูอัตราภาษีที่ต้องเสียของมานะกัน

รายได้เป็นเงินเดือนเป็นรายได้ 40(1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ.

มีค่าลดหย่อนส่วนตัวตามที่กฎหมายกำหนดเป็นพื้นฐานให้ทุกคนอยู่แล้ว คือ 60,000 บ.

มีค่าลดหย่อนจากการหักเงินเข้าปะกันสังคม ปี 65 นี้ คือ 6,300 บ.

ยังไม่ค่าลดหย่อนอื่น

ดังนั้นเงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

เงินได้สุทธิของมานะ = 480,000 – 100,000 – 60,000 – 6,300 = 313,700 บ.

เข้าตารางอัตราภาษีกัน

ช่วง 150,000 บ. แรก ไม่เสียภาษี ขั้นนี้ = 0 บ.

ช่วง 150,000 – 300,000 บ. เสียภาษี 5% เงินได้ของมานะอยู่ในช่วงนี้ 150,000 บ. เสียภาษีในขั้นนี้ คือ 150,000 x 5% = 7,500 บ.

ช่วง 300,000 – 500,000 บ. เสียภาษี 10% เงินได้ของมานะอยู่ในช่วงนี้ 13,700 บ. เสียภาษีในขั้นนี้ คือ 13,700 x 10% = 1,370 บ.

จากตรงนี้ ถ้ามานะซื้อ SSF 13,700 บ. มานะจะประหยัดภาษีได้ 1,370 บ. ประหยัดภาษีในขั้น 10% นี้ไป และถ้าซื้อมากกว่านี้ ที่ซื้อจะประหยัดภาษีได้ 5% จากเงินที่ซื้อ

เช่น ถ้ามานะ ซื้อ 30,000 บ. เงินลงทุน 13,700 บ. จะประหยัด 10% คือประหยัดไป 1,370 บ.

ส่วนอีก 30,000 – 13,700 = 16,300 จะประหยัดภาษีในขั้น 5% คือประหยัดไปอีก 815 บ. รวมถ้ามานะลงทุน SSF 30,000 บ. จะประหยัดภาษีได้ 1,370 + 815 = 2,185 บ.

คราวนี้เราก็มาพิจารณาขั้นที่ 3 สำรวจแผนการเงินและสภาพคล่อง เพราะเงินที่ลงทุนใน SSF นั้นต้องลงทุนไว้อย่างน้อย 10 ปี โดยนับเงินแต่ละก้อนที่ลงทุนเข้าไป เช่น ในปี 65 มีการซื้อ 2 ครั้ง เมื่อ 3 ต.ค. และ 3 พ.ย. ก้อนที่ซื้อครั้งแรกจะเริ่มขายได้ตามเงื่อนไข เมื่อ 4 ต.ค. 75 ส่วนอีกก้อน 4 พ.ย. 75

ตรงนี้จึงต้องพิจารณาด้วยว่า เรามีความจำเป็นต้องใช้เงินนี้ไหม แผนการเงินของเราเป็นอย่างไร เพราะแต่ละคนมีภาระ มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้เราต้องพิจารณาตัวเราเอง

อย่าคิดแค่ว่า เราจะลดภาษีให้ได้มากที่สุด โดยทุ่มเงินไปกับสิ่งลดหย่อน จนลืมดูแผนการเงินของตัวเองเป็นยังไงนะ

ลองนำปปรับใช้กันดูนะ

——————————————————————–

E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”

การลงทุนในกองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการลงทุนอย่างหนึ่ง และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาเรื่องการลงทุน และติดตามการลงทุนมากนัก

ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงสินทรัพย์แต่ละประเภทคืออะไร เหมาะอย่างไร และรายละเอียดต่างๆ ของกองทุนรวม การค้นหาข้อมูลของกองทุนรวม วิธีการคัดเลือกกองทุนรวมที่ใช่สำหรับคุณ อธิบายอย่างเข้าใจง่ายเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เงินงอกเงย และมีความสุขในระหว่างทางที่ลงทุน

สนใจสามารถสั่งซื้อออนไลน์ จาก OOKBEE ได้ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.ookbee.com/Shop/Book/77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed

และสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ meb ได้แล้วเช่นกันค่ะ http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEyMzg1MyI7fQ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: