เรามีทางเลือกอะไรบ้าง ถ้าเราออกจากงาน โดยที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขการนำเงินออกจาก PVD โดยไม่เสียภาษี มาอ่านกัน…
สนใจรับชมแบบวีดีโอ กดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) นั้นถือเป็นสวัสดิการที่ดีอย่างหนึ่งที่นายจ้างมีให้กับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ โดยเงินที่เราได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมี 4 ส่วน แบบนี้…
1. เงินสะสม เงินที่เราถูกหักจากเงินเดือนของเราทุกเดือนเข้าไปอยู่ในกอง PVD
2. ผลประโยชน์ของของเงินสะสม คือ กำไรที่งอกเงยขึ้นมาจากเงินต้นในส่วน “เงินสะสม”
3. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ามาเติมให้เราทุกเดือน
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ กำไรที่งอกเงยขึ้นมากจากเงินต้น ในส่วนของ “เงินสมทบ”
ซึ่งเวลาที่เราได้รับใบ PVD ที่เขาส่งมาให้เราดูจะเห็นแยกเป็น 4 ส่วนแบบนี้ชัดเจน
ซึ่งเงินทั้ง 4 ส่วนเหล่านี้ จะได้รับยกเว้นภาษี ถ้าเป็นการออกจาก PVD ด้วย 2 ลักษณะนี้เท่านั้น
1. ออกจากกอง PVD และออกงานโดยมีอายุ ≥ 55 ปี บริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนมา ≥ 5 ปี
2. เสียชีวิต/ ทุพพลภาพ

ถ้าไม่ใช่กรณีที่บอกข้างบน จะต้องเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณภาษีนั้น จะนำมาจากเงินใน 3 ส่วนคือ ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบนะ โดยที่เงินสะสมของเราเองที่ได้รับคืนมา หรือเงินในส่วนแรกไม่ต้องนำมาคิดภาษี
เมื่อลาออกจากงาน และไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ไม่อยากเสียภาษีเงินที่นำออกมาจาก PVD จะมีทางเลือก
– ขอคงเงินกองทุนไว้ก่อน เพื่อนับอายุต่อไป ทั้งเราและนายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินเข้าไปในกอง PVD เพิ่มเติม แต่จะมีค่าธรรมเนียมคงเงิน ปีละ 500 บ.
– โอนย้ายไป PVD ที่ใหม่ ถ้าที่ทำงานใหม่มี PVD
– โอนย้ายเข้าไปในกอง RMF for PVD ได้ ซึ่งจะได้นับอายุต่อโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เงินที่โอนย้ายจาก PVD ไป RMF ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้นะ และต้องเป็น RMF ที่ “รองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ซึ่งตอนนี้ก็มีหลากหลาย บลจ. หลากหลายสินทรัพย์และนโยบายลงทุน
การโอน PVD ไป RMF
– เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน ตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และผลตอบแทนที่คาดของเรา
– ดูว่ามีของ บลจ. ไหนบ้างที่มี RMF for PVD ที่เราต้องการ
– ดูเทียบผลการดำเนินงาน ค่าธรรมเนียม ลองนำของแต่ละ บลจ. มาเทียบกัน
– เปิดบัญชีกองทุนรวม RMF for PVD กับ บลจ. ที่เราเลือกไว้ ซึ่งจะเป้นบัญชีกองทุนแยกต่างหากจาก RMF ปกติ
– ติดต่อ PVD เดิม เพื่อขอโอนไปย้ง RMF for PVD ที่ต้องการ
PVD นั้นถือเป็นสวัสดิการที่ดี เพราะทำให้เรามีวินัยในการออม นายจ้างช่วยเราออมเพิ่มด้วย เหมือนได้เงินเดือนเพิ่ม แถมลดหย่อนภาษีได้ และเราก็ควรศึกษาเรื่องเงื่อนไข ติดตามผลประโยชน์ รวมถึงเรามีทางเลือกอะไรบ้างถ้าออกจาก PVD หรือออกจากงานด้วยนะ
————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น
ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
เรียนจบสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง
เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
