หุ้น M หรือ บริษัทเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ประกอบธุรกิจร้านอาหาร “เอ็ม เค สุกี้” ร้านอาหารญี่ปุ่น “ยาโยอิ” “ฮากาตะ” และ “มิยาซากิ” ร้านอาหารไทย “ณ สยาม” และ “เลอสยาม” ร้านกาแฟ/เบเกอรี่ “เลอ เพอทิท” ล่าสุดมีการซื้อกิจการร้านแหลมเจริญ ซีฟู้ด เข้ามาอยู่ในเครือ
จากสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน จะมีแสดง “อัตรากำไร” หรือ margin 3 ระดับ (ดูรูปประกอบได้นะคะ)
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) ตั้งแต่ปี 63-65 อยู่ ประมาณ 65% ตลอด ถ้าดูย้อนหลังไปก่อนหน้านี้ อัตรากำไรขั้นต้นก็อยู่ระดับประมาณนี้ รักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้ดีตลอด ซึ่งถ้าวิเคราะห์ตาม Five force model แสดงว่ามีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและ supplier ได้ดี ถึงแม้จะอยู่ใช่วงที่เงินเฟ้อสูง ที่ต้นทุนราคาสินค้า อาหารสดต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น
อ่านเรื่อง Five Force models ในการวิเคราห์คุณภาพบริษัทจากโพสนี้ได้นะ https://doctorwanttime.com/2023/01/11/five-forces-model-หรือแรงทั้ง-5/
จากอัตรากำไรขั้นต้น 65% ก็แปลได้ประมาณว่า ถ้าเราจ่ายกิน MK 100 บ. ก็คือเราจ่ายเป็นค่าต้นทุนอาหาร 35 บ.
ต่อมามาดู EBIT margin (EBIT คือ earning before interest and tax กำไรก่อนดอกเบี้ย และภาษี) หรือ ก็คือ กำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งกำไร EBIT จะมีการหักค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มเติม ถ้าเราอ่าน “คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ” ที่จะอยู่ในหัวข้อ “ข่าว” ที่จะออกมาพร้อมกับงบการเงิน เขาก็จะมีบอกว่า ค่าใช้จ่ายส่วนนี้คืออะไรบ้างสัดส่วนเท่าไหร่

ของหุ้น M ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย ค่าวัสดุสินเปลื้อง และค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย โดย ค่าใช้จ่ายพนักานเป็นค่าใช้จ่าย 49% ค่าเสื่อมราคา 21%
EBIT margin ของหุ้น M
ในปี 63 EBIT margin 8.42%
ในปี 64 EBIT margin 1.41%
ในปี 65 EBIT margin 11.31%
ค่าจ่ายในการขายและการบริหาร พอสมควร แต่ EBIT margin ก็ปรับตัวดีขึ้นในปี 65
อัตรากำไรท้ายที่สุด คือ อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) ซึ่งกำไรสุทธินั้นจะมีการหักค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและภาษีเพิ่มเติม
Net margin ของหุ้น M
ในปี 63 Net profit margin 6.68%
ในปี 64 Net profit margin 1.06%
ในปี 65 Net profit margin 9.08%
เนื่องจากหุ้น M มีหนี้สินน้อย มีสินทรัพย์ 19,901.08 ลบ. หนิ้สิน 6,135.89 ลบ. ส่วนผู้ถือหุ้น 13,442.79 ลบ.
เมื่อหนี้น้อย ภาระดอกเบี้ยจ่ายก็น้อย ทำให้ Net profit margin ออกมาได้ใกล้ EBIT margin และเห็นว่า ในปี 64 ที่ EBIT margin บาง เนื่องจากเป็นช่วงโควิด แต่ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร แต่เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายน้อย ท้ายที่สุดยังมีกำไร
ถ้าหุ้น M ปรับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ดีขึ้น ก็จะทำให้ EBIT และ Net margin ดีขึ้น และคงต้องติดตามว่าหุ้น M จะเติบโตไปไหนทางไหน
————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น
ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
เรียนจบสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง
เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
