SINGER Q1/66 ขาดทุน 843 ลบ. จากอะไร

SINGER Q1/66 ขาดทุน 843 ลบ. จากอะไร มาอ่านกัน

ความกังวลในงบปี 65 จะเป็นเรื่อง NPL ของเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ ที่มี NPL ประมาณ 600 ลบ. และ NPL ต่อยอดสินเชื่อส่วนนี้ 12% มีการตั้ง ECL ไว้ 405 ลบ. และสินค้าคงเหลือที่เป็นสินค้ายึดคืน เพิ่มขึ้น 1,000 ลบ. แต่ตั้งค่าเผื่อด้อยค่าไว้ 50 ลบ. อ่านเพิ่มเติมงบปี 65 ของ SINGER จากโพสนี้นะ https://doctorwanttime.com/2023/05/07/singer-npl-และสินค้ายึดคืน-น่ากั/

SINGER บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้านต่างๆ นอกจากนี้ยังจำหน่ายสินค้าเชิงพาณิชย์ เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร ตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือออนไลน์ ตู้เติมน้ำมันแบบหยอดเหรียญ มากกว่า 80% ของยอดขายเป็นการขายแบบเช่าซื้อ โดยบริษัทให้เช่าซื้อผ่านทาง บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (ชื่อย่อหุ้น SGC) ซึ่ง บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 99.99%

เวลาดูงบของ SINGER หรือ SGC ที่เป็นบริษัทลูก จะมีคำว่า “เช่าซื้อ” ซึ่งก็คือ ให้ของไปใช้ก่อนและให้ลูกหนี้ค่อยๆ ผ่อน และ ”ให้กู้ยืม”เช่น จำนำทะเบียนรถ โดยทำผ่านบริษัทลูก SGC

การจัดชั้นลูกหนี้

ระดับแรก เงินให้สินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต(performing) คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดชำระหนี้

ระดับ 2 เงินให้สินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน

และระดับ 3 เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing; NPL) สินเชื่อที่ผิดชำระหนี้หนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย/ สาญสูญ เลิกกิจการ ล้มละลาย ไม่สามารถเรียกชำระหนี้คืนได้ หรือคุณภาพของลูกหนี้มีการเสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ

จากระดับของลูกหนี้ก็จะคิดคำนวณออกมา เป็น ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL) หรือที่เรียกว่าการตั้งสำรองเมื่อก่อน ซึ่ง ECL ก็จะมาเป็นตัวหักออกจากรายได้ และส่งผลต่อกำไรสุทธิของบริษัท

งบ Q1/66 มาดูกัน

สิ้นไตรมาส 1/66 ยอดสินค้ายึดคืนยังพอๆ เดิม แสดงว่าของที่ยึดคืนมายังไม่ได้ระบายไปเท่าไหร่ จึงมีการหักค่าเผื่อผลขาดทุนจากมูลค่าที่ลดลง เพิ่มขึ้นมา 435 ลบ. จากครั้งก่อนที่ตั้งไว้ 50 ลบ. ซึ่งจะไปอยู่ที่ต้นทุนขาย สินค้ายึดคืน ก็คือ สินค้าที่ลูกค้านำไปใช้แล้วผ่อนไม่ไหว บริษัทก็ไปยึดสินค้าคืนมา

ตรงนี้คงต้องตามต่อว่า ของจะระบายออกได้มากน้อยแค่ไหน ที่ตั้งด้อยค่าสินค้ายึดคืนเหล่านี้เพียงพอไหม

ปัญหา NPL หรือหนี้สิน และ ECL

ไตรมาส 1/66  ไตรมาสเดียวขาดทุนจากผลขาดทุนด้านเครดิตไป 952 ลบ. ซึ่งเป็นส่วนเช่าซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ  884  ลบ. ลองเข้าไปดูในหมายเหตุงบ ในลูกหนี้ส่วนนี้กัน

สิ้นไตรมาส 1/66 NPL 1,709 ลบ. เพิ่มจากสิ้นปี 65 ที่ 600 ลบ. แสดงว่า มีการเปลี่ยนชั้นของลูกหนี้จากชั้นที่ 2 (under-performing) มาเป็นชั้นที่ 3 หรือ NPL เพิ่ม และยังมีลูกหนี้ในชั้นที่ 2 อีก 1,089 ลบ.

คงต้องติดตามเรื่อง NPL ว่าบริษัทจะเคลียร์ยังไง และเร่งระบายสินค้ายึดคืน

……………………………………………….

มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้

ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: