ใครชอบหุ้นปันผล สิ่งหนึ่งที่มักสนใจ ก็คือ “อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน หรือ dividend yield(DIY)” เพื่อที่จะได้ดูว่า เราจะได้เงินปันผลเท่าไหร่ ถ้าเราซื้อหุ้นที่ราคานั้นๆ ซึ่งอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน หรือ dividend yield ที่แสดงในตารางสรุปงบการเงินที่อยู่ท้ายตารางในหุ้นที่เราสนใจ ในเว็บไซต์ของ set นั้นคิดมายังไง และมีความหมายอย่างไร มาอ่านโพสนี้กัน…
ถ้าชอบรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ
สำหรับข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2547 เป็นต้นไป อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนที่อยู่ในเว็บไซต์ของ set คิดมาจาก

ไม่ได้คิดมาจากเงินปันผลย้อนหลัง 4 ไตรมาส หรือ 12 เดือน ล่าสุดนะ ซึ่งอันนั้นเป็นการคิดสำหรับในอดีตถึงวันที่ 30 มิ.ย. 47 นะ
มาลองคิดของหุ้นตัวอย่างนี้กัน

ก่อนอื่นเราต้องดูว่า เงินปันผลตอบรอบผลประกอบการประจำปีล่าสุด ของหุ้นนี้คือเท่าไหร่ก่อน ซึ่งรอบประผลประกอบการนั้นเราก็ต้องไปดู ตามรอบผลประกอบการของปี 2562 เพราะขณะที่เราดูอยู่นี้คือ วันที่ 6 ก.ย. 63
ก็ต้องเข้าไปดูตรง “ข้อมูลสิทธิประโยชน์” ในหุ้นที่เราสนใจ ในเว็บไชต์ของ set นะ

จะเห็นว่าตามรอบประจำปี 2562 นั้น หุ้นนี้ ปันผล 2 ครั้งเป็นเงินปันผลต่อหุ้น = 3.78 + 3.56 = 7.34 บ.
เมื่อเราได้ตรงนี้ แต่ที่เราคิดออกมาตรงนี้เป็นเงินปันผลต่อหุ้น เราก็มาดูราคาปิดของหุ้น คือ 183.5
อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน = 7.34/ 183.5 = 4%
ซึ่งถ้าจะคิดให้ละเอียดตามของเว็บไซต์ของ set นั้นต้องคิดมาจาก มูลค่าเงินปันผลตอบรอบผลประกอบการประจำปีล่าสุด และหารด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดนะ
การดูค่าอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน จึงมี 3 ข้อสังเกตแบบนี้…
1. ค่านี้จะเห็นว่ามีความเลื่อมของเวลากันอยู่ เพราะเงินปันผลที่เป็นตัวตั้งนั้นใช้เงินปันผลในอดีตรอบประจำปีของปีล่าสุดคือปีที่แล้ว ส่วนราคาปิดของหุ้นซึ่งเป็นค่าปัจจุบัน
2. ค่านี้ขึ้นกับเงินปันผลที่จ่าย ถ้าจ่ายลดลงค่านี้ก็จะลดลงได้ และค่าอัตราเงินปันผลตอบแทนนั้นอย่างที่เล่าไป มันใช้ค่าเงินปันผลในอดีต ไม่ได้เป็นการรับรองว่า การจ่ายปันผลจะเหมือนเดิมในอนาคต
3. ค่านี้จะเปลี่ยนไปตามราคาหุ้น ถ้าราคาหุ้นลดลง ก็จะทำให้ค่าอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนนี้เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นค่านี้จะเปลี่ยนไปตามราคาหุ้นที่เปลี่ยนไป ตัวเลขอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนจึงเป็นตัวหนึ่ง เพื่อดูว่าหุ้นนี้น่าสนใจลงทุนที่ราคานี้หรือไม่ โดยคำนึงถึงข้อสังเกตข้อที่ 1 และ 2 นะ
การคิดอัตราส่วนทางการเงิน ถ้าเราพอรู้ว่า เขาคิดมายังไง เราจะเข้าใจว่า เราควรจะแปลความหรือมีข้อควรระมัดระวังในการแปลความยังไงบ้างนะ
————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
