กันช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่ยื่นภาษีของปี 63 กัน อัตราภาษีบ้านเรานั้นจะเป็นลักษณะขั้นบันได ยิ่งมีเงินได้สุทธิสูง ก็จะเสียอัตราภาษีในระดับที่สูงขึ้น แล้วอัตราภาษีนี้ ดูยังไง คิดยังไง และการวางแผนภาษี เราควรต้องสามารถคิดคำนวณภาษีที่ต้องเสียเบื้องต้นได้ด้วยนะ มาอ่านโพสนี้กัน…

มาเริ่มค่อยๆ ดูกัน
ในการคิดว่า ภาษีที่ต้องเสียเท่าไหร่นั้น ตั้งต้นเราต้องรู้ว่า
1.เงินได้ทั้งปีของเราเป็นเท่าไหร่ ลักษณะรายได้เป็นแบบไหน
2.หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ซึ่งหักได้เท่าไหร่นั้นจะขึ้นกับลักษณะประเภทรายได้ กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เช่น ถ้ารายได้ของมนุษย์เงินเดือน จะเป็นรายได้ 40(1) หรือ 40(2) ที่สามารถหักค่าใช่จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บ. ซึ่งจะเป็นลักษณะเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายได้น้อย เพราะจะติดเพดานที่ 100,000 บ.
3. มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ในแต่ละปีรัฐก็จะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงค่าลดหย่อนไปบ้าง อย่างเช่นปีนี้มีลดหย่อนจาก SSFX, SSF เพิ่มเติม โดยไม่มี LTF แล้ว ดังนั้นตรงนี้ต้องคอยติดตามว่า แต่ละปีมีอะไรบ้าง รูปถัดไป จะเป็นค่าลดหย่อนของปีภาษี 63 นะ
เมื่อเราทราบข้อมูลตรงนี้ เราจะสามารถนำมาคิดคำนวณ “เงินได้สุทธิ” ของเราได้
เงินได้สุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
และเมื่อทราบ “เงินได้สุทธิ” ตรงนี้ จะนำมาคิดอัตราภาษี เพื่อคำนวณออกมาเป็นภาษีที่เราต้องเสีย
ใครสนใจอ่านเพิ่มเติม ลักษณะของรายได้แบบไหน หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ จากลิงค์นี้นะคะ https://bit.ly/2LyZF8Y

รูปที่แสดงค่าลดย่อนสำหรับปี 2563 นะ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ไปบ้าง ได้แก่
– เงินลดหย่อนจากประกันสังคม เพราะปีนี้มีการลดการหักเงินเข้าประกันสังคมนะ ดังนั้นสูงสุดปกติจะเป็น 9,000 บ. ปีนี้สูงสุดก็จะเป็นแค่ 5,850 บ. นะ
– ประกันสุขภาพตนเอง ปีนี้เพิ่มเป็น 25,000 บ. จากเดิม 15,000 บ. แต่ยังไงเพดานก็ยังไปรวมกับประกันชีวิตทั่วไป แล้วไม่เกิน 100,000 บ. เหมือนเดิมนะ
– กองทุนประหยัดภาษีมีการปรับ LTF ออก มี SSFX, SSF แทน และยังมีการปรับเกณฑ์ของ RMF ใหม่ด้วยนะ
– เพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจาก “ช้อปดีมีคืน”
ส่วนค่าลดหย่อนสำหรับปีภาษ๊ 2564 คงต้งติดตามกันอีกทีว่า จะมีอะไรเหลี่ยนแปลงบ้างนะ
เมื่อเราคิดคำนวณ รายได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ก็จะได้ออกเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งจะนำไปเข้า เทียบกับตารางอัตราภาษี

อัตราภาษีนั้นเป็นลักษณะขั้นบันได ยิ่งเงินได้สุทธิมาก จะยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูง ในการคิดอัตราภาษีจะดูเป็นช่วงของเงินได้ และค่อยๆ เดินขึ้นไปในแต่ละขั้นว่าคิดได้เท่าไหร่ และนำแต่ละขั้นที่คิดได้มาบวกกัน ลองดูตัวอย่างในรูปถัดไปจะได้เข้าใจมากขึ้นนะ

ตัวอย่างการคำนวณแบบในรูปนะ แต่ถ้าเรามีรายได้หลายลักษณะ เช่น มีรายได้ที่เป็น 40(1) และ 40(6) เราต้องนำแต่ละลักษณะนั้นหักด้วยค่าใช้จ่ายในแต่ละลักษณะรายได้ก่อน และค่อยนำมารวมกัน และค่อยหักต่อด้วยค่าลดหย่อนที่มีนะ ลองดูตัวอย่างนี้นะ
ถ้าหมอคนเดิมในตัวอย่างนี้ มีรายได้จากการไปออกตรวจ รพ. เอกชน ที่ได้รายได้เป็นลักษณะ DF ซึ่งเป็นรายได้ 40(6) อีกปีละ 100,000 บ. ส่วนรายได้ 40(1) และค่าลดหย่อนอื่นเหมือนเดิม ลองมาคิดกัน
ถ้าเรามีรายได้ทั้ง 40(1) และ รายได้ 40(6) ให้คิดหักค่าใช้จ่ายในแต่ละลักษณะของเงินได้ก่อน และค่อยนำมาหักกับค่าลดหย่อน ลักษณะนี้
เงินได้สุทธิ = [(รายได้ 40(1) – ค่าใช้จ่ายตาม 40(1)) + (รายได้ 40(6) – ค่าใช้จ่าย 40(6))] – ค่าลดหย่อน
รายได้จาก รพ. รัฐ ทั้งปี 600,000 บ. หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บ. เหลือรายได้ 40(1) หลังหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับ 500,000 บ. ตรงนี้เหมือนตัวอย่างเดิม
ส่วนรายได้ 40(6) เลือกหักแบบเหมา ซึ่งหักได้ 60% ของรายได้ ดังนั้นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายตรงนี้จะได้เท่ากับ 100,000 – (100,000 x 60%) = 40,000 บ.
รวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 500,000 + 40,000 บ. = 540,000 บ.
และจึงนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. ค่าลดหย่อนจาก กบข. 60,000 บ. ตามตัวอย่างเดิม
จะได้เป็นเงินได้สุทธิ = 420,000 บ. และนำรายได้ตรงนี้ไปเข้าเทียบกับ ตารางอัตราภาษี ทำให้ต้องเสียภาษีเป็น
ขั้นที่ 1 = 0
ขั้นที่ 2 = 7,500 บ.
ขั้นที่ 3 = 120,000 x 10% = 12,000 บ.
รวมภาษีที่ต้องเสียทั้งหมด = 19,5000 บ. นั่นเอง

การคำนวณแบบเหมาที่คิดอัตรา 0.5% จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อ มีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) และคำนวณแบบเหมาแล้วค่าภาษีเกิน 5,000 บ. ก็คือ ต้องมีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) เกิน 1,000,000 บ. นั่นเอง เพราะ 1,000,000 บ. X 0.005 = 5,000 บ. (ถ้าคิดภาษีแบบเหมานี้ง่ายๆ ก็คือ เสียล้านละ 5,000 บ. นะ) และคิดออกมาแล้วแบบหมาเสียมากกว่า แบบขั้นบันได
สรุปก็คือ ให้คิดภาษีแบบขั้นบันไดที่เล่าไปก่อนหน้าก่อน และถ้ามีรายได้อื่นที่ไม่ใช่ 40(1) ที่เกิน 1,000,000 บ. ลองมาคิดแบบเหมาดู และต้องเสียภาษีตามที่คิดออกมาแล้วมากกว่านะ ถ้าแบบบขั้นบันได เสียมากกว่า ก็คือใช้แบบขั้นบันได
ภาษีถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งการที่เราจะวางแผนภาษี เราควรต้องคำนวณภาษีของตนเองได้เบื้องต้นนะ
———————————–
E-book ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม ที่เล่าถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน วิธีการเลือกกองทุนตลาดเงิน ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนประหยัดภาษี
ใครสนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่าน และสั่งซื้อได้จาก OOKBEE ตามลิงค์นี้นะคะ
และสามารถสั่งซื้อได้ทาง Meb ได้ด้วยเช่นกันค่ะ
