ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) คืออะไร

หลายคนอาจสงสัยว่า ประกันชีวิตควบการลงทุนคืออะไร?? ดีกว่าประกันแบบเดิมๆ ยังไง?? แล้วทำไมต้องมีประกันแบบ Unit Linked?? สงสัย สนใจ อยากรู้ จะมาสรุปให้เข้าใจแบบง่ายๆ กัน

มาเริ่มกันที่ทำความเข้าเรื่องเบี้ยประกัน ที่เราจ่ายให้บริษัทประกันกันก่อน เพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น.หลายคนน่าจะเคยทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แบบชั่วระยะเวลา หรืออย่างน้อยน่าเคยทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญที่เรามักเอาไว้เพื่อลดหย่อนภาษี

เบี้ยแต่ละปีที่เราจ่ายให้บริษัทประกัน เงินส่วนนี้บริษัท ก็จะเอาไปแบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 กันไว้เป็นค่าความคุ้มครองตามที่กรมธรรม์ประกันชีวิตกำหนด

ส่วนที่ 2 ถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามกรมธรรม์ เช่น ค่าตัวแทน ค่าใช้จ่ายดำเนินการ ค่าธรรมเนียมต่างๆ

ส่วนที่ 3 เอาไปลงทุน เพื่อบริษัทจะได้ให้เงินงอกเงยขึ้นมาบ้าง เพื่อนำผลตอบแทนจากการลงทุนมาจ่ายเป็นเงินคืนตามสัญญา หรือเป็นมูลค่าสะสมไว้ในเงินประกันหรือเป็นเงินปันผล ดังนั้นบริษัทประกันชีวิตจะนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนกับสินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยงมาก เพื่อให้โอกาสขาดทุนน้อย และยังได้เงินงอกเงยบ้างจากผลตอบแทนที่ลงทุน ดังนั้นก็มักจะลงทุนใน ตราสารหนี้ เงินฝาก อาจจะลงทุนในหุ้นบ้างเป็นส่วนน้อย จึงทำให้ผลตอบแทนที่เราได้จากการทำประกันชีวิตนั้นไม่มาก(ยกวันเสียชีวิต)

จึงมีการทำประกันชีวิตแบบ Unit Linked ที่เรียกว่าประกันชีวิตควบการลงทุน

ซึ่งความต่างจะเป็นเงินในส่วนที่ 3 ที่เล่าไปให้ฟัง แทนที่บริษัทจะเอาไปลงทุนบริหารจัดการเอง ได้ผลตอบแทนเอง รับความเสี่ยงเอง ก็ให้ส่วนนี้เป็นผู้เอาประกันรับผิดชอบเอง โดยให้เลือกนำไปลงทุนผ่านกองทุนรวมที่บริษัทประกันได้คัดมาไว้ให้เราเลือก มีตั้งแต่กองตราสารหนี้ กองทุนรวมแบบผสม และกองทุนหุ้น และเราก็รับผิดชอบเองในส่วนนี้ อาจได้กำไรมากหรือขาดทุนได้

ในส่วนนี้จึงไม่ได้ประกันผลตอบแทน(เงินในส่วนของการลงทุนที่แบ่งมาตรงนี้ ของประกันแบบ Unit Linked ส่วนนี้จะเอาไปใช้เป็นสิทธิในการลดหย่อนภาษีไม่ได้นะ)

ข้อดีของประกันแบบนี้

จะมีความยืดหยุ่นในการเลือกเบี้ยที่จ่าย ทุนประกันที่อยากได้ เราสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนระหว่างความคุ้มครอง กับเงินลงทุนได้ ถ้าช่วงไหนเราอยากให้มีความคุ้มครองมาก เช่น มีภาระคนที่ต้องดูแลมาก ถ้าเราไม่อยู่เขาจะลำบาก ก็เลือกให้มีความคุ้มครองมากขึ้น ลงทุนน้อยหน่อย หรือถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนมาก ก็ลงทุนมากหน่อย

มีความยืดหยุ่นในการพักชำระเบี้ย ตราบที่กรมธรรม์ยังมีผล และเรายังสามารถเอาเงินส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนออกมาได้ ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดไว้ จึงเป็นประกันชีวิตที่มีความยืดหยุ่นกว่าประกันชีวิตแบบทั่วไป และยังมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นกว่าประกันชีวิตแบบเก่า

ข้อด้อยของประกันแบบนี้

คือ ในส่วนการลงทุนที่เราต้องรับผิดชอบตัวเอง ดังนั้นเราก็ต้องมีความรู้ในการเลือก และปรับพอร์ตการลงทุนของเราด้วย แม้บริษัทประกันจะได้คัดสรรกองทุนรวมที่คิดว่าน่าจะโอเคมาให้เราแล้วก็ตาม หรืออาจมีบริการคอยปรับพอร์ตเพื่อคงสัดส่วนการลงทุนไว้ให้เหมือนที่เราเลือก แต่ยังไงเราก็ต้องคอยติดตามผลการลงทุนและพอร์ตของตัวเองด้วย เพราะผลกำไรขาดทุนในส่วนนี้เรารับผิดชอบเอง

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจรู้สึกว่า แบบนี้ เอาเงินไปลงทุนในกองทุนรวมเองเลยไม่ดีกว่าหรอ ไม่ต้องมาเสียค่าธรรมเนียมให้บริษัทประกันเพิ่มเติมด้วย ประกันชีวิตแบบ Unit linked หัวใจหลักก็ยังเป็นเรื่องของการประกันชีวิตเป็นหลักอยู่ดี ถ้าเราลงทุนกองทุนรวมอยู่ แล้วเราเกิดจากไป ที่ตอนนั้นพอร์ตการลงทุนของเรายังขาดทุนอยู่ คนข้างหลังก็จะได้เงินตามที่พอร์ตเรามีอยู่ แต่ถ้าเป็น Unit linked นั้น คนข้างหลังก็จะได้รับทุนประกันชีวิตรวมกับมูลค่าของเงินส่วนที่ไปลงทุน

ดังนั้นถ้าใครจะทำประกันแบบ Unit Linked เพราะรู้สึกว่าสะดวกดี มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการจัดการ กรมธรรม์ฉบับเดียวได้ทั้งเรื่องการประกันชีวิต และการลงทุน ก็ได้

หรือถ้าใครจะลงทุนแบบประกันชีวิตทั่วไป และมีพอร์ตการลงทุนกองทุนรวมของตัวเองแยกกัน อันนี้ก็แล้วแต่เราสะดวก

ดังนั้นยูนิตลิงค์ ยังเป็นเรื่องของการประกันชีวิต ที่เพิ่มโอกาสให้เราได้รับผลตอบแทนมากขึ้นจากการลงทุน โดยเราต้องมีการวางแผนทางการเงิน อ่านเงื่อนไขของประกันชีวิตให้ดีว่าเป็นยังไง และมีความรู้ในการลงทุนนะ

————————————

สอบถามเรื่องประกันที่น่าสนใจสามารถติดต่อพูดคุยได้ที่ คุณพรพรรณ (ตั๊ก)

Line ID: march_ps กดจากลิงค์นี้ได้เลยนะคะ https://line.me/ti/p/BQ2JSrXX8D

หรือ☎️โทร 0964411096 ได้นะคะ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: