สรุป!! เงื่อนไข SSF ที่ควรรู้ก่อนลงทุน

มาอ่านกันว่า มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องรู้ก่อนลงทุน และถ้าซื้อ SSF ไว้ปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้นำไปลดหย่อน จะขายออกเพราะเห็นว่ามีกำไร หรือจำเป็นต้องใช้เงิน แบบนี้ถือว่าผิดเงื่อนไข SSF ไหม

เงื่อนไขของ SSF

1. ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บ. และเมื่อรวมกับ RMF/ ประกันบำนาญ/ PVD/กบข./ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน/ กอช. แล้วไม่เกิน 500,000 บ.

2. ลดหย่อนภาษีได้ ปี 63- ปี 67 ซื้อปีไหน ลดหย่อนปีนั้น

3. ไม่จำกัดสินทรัพย์ในการลงทุน มีทั้งแบบปันผล ไม่ปันผล

4. ไม่มีกำหนดการซื้อขั้นต่ำสำหรับการลดหย่อนภาษี แต่อาจมีกำหนดการซื้อขั้นต่ำที่แต่ละกองทุน และการลงทุน SSF นั้นไม่ต้องลงทุนทุกปี ซื้อปี 63 ปีเดียว และไม่ซื้ออีกก็ได้

5. ถือให้ครบ 10 ปี ซึ่งเป็นการนับแบบวันชนวันของเงินแต่ละก้อนที่ลงทุน ถึงขายคืนได้ตามเงื่อนไข เช่น ซื้อ SSF ก้อนแรก 50,000 บ. เมื่อ 30 เม.ย. 63 และซื้ออีกก้อนเมื่อ 1 มิ.ย. 63 อีก 50,000 บ. จะสามารถขายคืนก้อนแรกซื้อมาได้ เมื่อ 1 พ.ค. 73 ส่วนก้อนที่ซื้อครั้งที่ 2 จะขายคืนได้เมื่อ 2 มิ.ย 73

การผิดเงื่อนไขของ SSF จะมีอยู่ 2 ลักษณะ


1. ซื้อเกินสิทธิ ต้องนำส่วนต่างกำไร หรือที่เรียกกันว่า (Capital gain) ที่ได้จากการขายคืน SSF เฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ ไปรวมเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี


เช่น รายได้ 1,000,000 บ. แต่ซื้อ SSF ไป 300,000 บ. เกินสิทธิไป 100,000 บ. เพราะเพดานของ SSF นั้นไม่เกิน 200,000 บ. ถึงแม้เมื่อคิดจาก % ของรายได้ จะได้ 300,000 บ. ก็ตาม


ดังนั้นแบบนี้ซื้อเกินสิทธิ ซึ่งเมื่อขายคืนส่วนที่เกินสิทธิ สมมติว่าขายคืนได้เงิน 120,000 บ. ต้องนำ 20,000 บ. ซึ่งเป็นส่วนต่างกำไรจากเฉพาะส่วนที่ซื้อเกินสิทธิ ไปรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีในปีที่มีการขายคืน ซึ่งในระบบยื่นภาษ๊ออนไลน์ จะช่องให้เลือกในหน้าที่เลือกว่า เรามีรายได้อะไรบ้าง จะมี “เงินค่่าขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อการออม (SSF)

2. ขายคืนก่อนกำหนด

– ถ้าซื้อครั้งแรก และยังไม่ได้นำไปลดหย่อน: นำส่วนต่างกำไรที่ได้จากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยเลือกช่องรายได้ในแบบยื่นภาษีอนไลน์ “เงินค่่าขายคืนหน่วยลงทุนเพื่อการออม (SSF)
เช่น ปี 63 นี้ มานีซื้อ SSF เมื่อเดือน มิ.ย. 63 100,000 บ. เพราะกะว่าจะนำไปลดหย่อนภาษี แต่พอเดือน ม.ค 64 มีความจำเป็นต้องใช้เงิน และเห็นว่า SSF ที่ถืออยู่นั้นมีกำไร จึงขาย SSF ก้อนนี้ออกมาได้เงิน 120,000 บ. มานีต้องนำ 20,000 บ. นี้มารวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีในการยื่นภาษีของปี 64 นี้ด้วยนะ


ดังนั้นถึงซื้อมาแล้วแต่ยังไม่ได้นำไปลดหย่อนภาษี ก็ถือว่า ผิดเงื่อนไข ขายก่อนกำหนดนะ


– ส่วนถ้าเคยซื้อ SSF และนำไปลดหย่อนภาษีแล้ว: ต้องนำส่วนต่างกำไรที่ได้จากการขายคืนไปนำรวมเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี และต้องคืนเงินภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนไป บวกเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อน โดยนับตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ได้รับลดหย่อนภาษี ไปจนถึงเดือนที่ยื่นคืนภาษี

มาดูตัวอย่างกัน ปี 63 นี้ มานีซื้อ SSF เมื่อเดือน มิ.ย. 63 100,000 บ. พอตอนยื่นภาษีเงินได้ของปี 63 (ที่ยื่นตอนต้นปี 64) ก็นำ SSF นี้ไปลดหย่อนภาษี มานีเสียภาษีอยู่ฐาน 15% ก่อนหักค่าลดหย่อน ดังนั้นมานีก็ได้ลดหย่อนภาษีไป 15,000 บ.


มานีเกิดมีความจำเป็นต้องใช้เงินจึงขาย SSF ออกมาเดือน ก.ค. 64 ( 4 เดือน เมื่อนนับจาก เม.ย. 64) ได้เงินจากการขายทั้งหมด 120,000 บ. (ส่วนต่างกำไร 20,000 บ.)


ดังนั้นสิ่งที่มานีต้องทำคือ- มานีต้องเงินส่วนต่างกำไร 20,000 บ. นั้นไปรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีของปีภาษี 64 ซึ่งอันนี้ไว้ยื่นตามรอบภาษีได้


และมานีต้องคืนเงินภาษีที่ได้ลดหย่อนมา พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน เมื่อนับจากเดือน เม.ย. ที่นำไปลดหย่อน ซึ่งตรงนี้ให้รีบติดต่อสรรพากรและทำทันที ไม่อย่างนั้นจะยิ่งเสียดอกเบี้ยเพิ่ม ดังนั้นมานีต้องจ่ายคืนสรรพากร = 15,000 + (1.5%x 15,000 x 4 เดือน) = 15,000 + 900 = 15,900 บ.

ดังนั้น ก่อนลงทุน SSF ควรเข้าใจเงื่อนไข และวางแผนการเงินของเราให้สามารถทำตามเงื่อนไขได้ด้วยนะ จะได้ได้ประโยชน์การจากการลดหย่อนภาษีด้วย SSF และไม่ต้องมีเรื่องยุ่งยากตามมา

ข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าเราทำถูกเงื่อนไขของ SSF เงินส่วนต่างกำไรจากการขายคืน(Capital gain) ได้รับยกเว้นภาษีนะ แต่เงินปันผลจากกอง SSF ยังไงก็ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีนะ ถึงแม้จะทำถูกเงื่อนไขก็ตาม โดยเงินปันผลนี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งตรงนี้เราสามารถเลือกได้ว่า จะนำเงินปันผลไปยื่นรวมเป้นรายได้ไหม หรือเลือก final tax ไม่นำไปรวมเป้นรายได้ก็ได้แล้วแต่เรา

———————————–

E-book ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวมที่เล่าถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุนวิธีการเลือกกองทุนตลาดเงิน ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนประหยัดภาษี


ใครสนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่าน และสั่งซื้อได้จาก OOKBEE ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15


และสามารถสั่งซื้อได้ทาง Meb ได้ด้วยเช่นกันค่ะ http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEyMzg1MyI7fQ

สินค้าและบริการ
Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: