ทั้ง ROE และ ROA นั้น เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ที่มักจะใช้ในการดู “ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท” มาทำความเข้าในทั้ง 2 อัตราส่วนนี้ แบบเข้าใจง่ายๆ กัน มาอ่านกัน…
สนใจรับชมแบบีดีโอ กดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ
ลองมาดูตัวอย่างกันก่อนนะ
ถ้าเราต้องการซื้อคอนโดมิเนียมสักห้องหนึ่งเพื่อมาปล่อยเช่า ราคาห้อง 2,000,000 บ. ปล่อยเช่าได้เดือนละ 15,000 บ. ทั้งปีก็จะได้ 180,000 บ.
กรณีแรก เราจะใช้เงินทุนส่วนตัว ที่มีอยู่มาซื้อคอนโด 1,500,000 บ. และกู้มาเพิ่มอีก 500,000 บ. เพื่อซื้อคอนโดห้องนี้
งบดุลของคอนโดเราจะเป็นแบบนี้
ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ทุน
2,000,000 = 500,000 + 1,500,000 บ.
ลองมาคิด ROA (return on asset) และ ROE (return on equity) กัน
ROA คิดจาก กำไร/ สินทรัพย์ = 180,000 บ. / 2,000,000 บ. = 0.09 = 9%
ส่วน ROE คิดจาก กำไร/ ทุน = 180,000/ 1,500,000 บ. = 0.12 = 12%
แต่ถ้าเราใช้เงินกู้เพิ่ม ใช้เงินตัวเองน้อยลงในการซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อมาปล่อยเช่าห้องนี้ แบบกรณีที่ 2 แบบนี้
ราคาคอนโดเท่าเดิมคือ 2,000,000 บ. ปล่อยเช่าได้ 15,000 บ.ต่อเดือน และได้ผลตอบแทนทั้งหมดต่อปี คือ 180,000 บ.
แต่ใช้เงินทุนตัวเอง 500,000 บ. และกู้ธนาคารมาอีก 1,500,000 บ. แทน
งบดุลคอนโด กรณีที่ 2 จะเป็นแบบนี้
ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ทุน
2,000,000 = 1,500,000 + 500,000 บ.
ลองมาคิด ROA และ ROE ของกรณีที่ 2 นี้กัน
ROA คิดจาก กำไร/ สินทรัพย์ = 180,000 บ. / 2,000,000 บ. = 0.09 = 9% เท่าเดิม
ส่วน ROE คิดจาก กำไร/ ทุน = 180,000/ 500,000 บ. = 0.36 = 36% เพิ่มขึ้นเพราะใช้เงินทุนตัวเองน้อยลง
ข้อสังเกตของ ROE และ ROA
1. อัตราส่วนทั้ง 2 ตัวนี้ยิ่งสูง ยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการนำทุน (ส่วนผู้ถือหุ้น) หรือ ทรัพย์สินที่มี ไปสร้างผลตอบแทนได้ดี เช่น กิจการหนึ่ง ROE 20% กับอีก กิจการหนึ่ง ROE 10% ก็จะเห็นว่ากิจการที่ทำ ROE ได้ 20% ก็จะน่าสนใจกว่า เพราะจากเงินของผู้ถือหุ้น 100 บ. ทำกำไรได้ 20 บ.
2. ถ้าบริษัทที่มีหนี้สินน้อย ค่า ROE จะใกล้กับค่า ROA เพราะ ROA (Return on Asset) คิดมาจาก กำไร/ สินทรัพย์รวม ซึ่งสินทรัพย์รวม นั้นเท่ากับ ส่วนของผู้ถือหุ้น + หนี้สินรวม จากตัวอย่างกรณีซื้อคอนโดที่เล่าข้างต้น ที่กรณีแรกเราใช้เงินกู้แค่ 500,000 บ. ค่า ROA คือ 9% และ ROE คือ 12%
3. ROE ที่สูงนอกจากมีความสามารถในการทำกำไรได้ดี อาจแสดงถึงว่าบริษัทสามารถใช้พลัง leverage จากหนี้สินได้ดีซึ่งเหมือนจะเป็นข้อดี แต่ก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องระวังเหมือนกัน จากหนี้สินที่มากเกินไป เพราะถ้ามีวิกฤตขาดรายได้ หนี้ที่มากจะทำปัญหาได้จากตัวอย่างจะเห็นว่า กรณีที่ 2 ที่ใช้หนี้สินมากกว่า นอกนั้นเหมือนกัน แต่ทำให้ ROE ดีขึ้นกว่ากรณีแรกได้มาก
ลองดูตัวอย่างหุ้นจริงในตลาดหุ้นกัน
หุ้นตัวอย่างจะเห็นว่า หนี้สินมาก เมื่อเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งเราจะเห็นว่า ROE ต่างจาก ROA มาก

อีกตัวอย่างหนึ่ง จะเห้นว่าหุ้นนี้หนี้สินน้อยมากเมื่อเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งเราก็จะเห็นว่า ROE นั้นใกล้เคียงกับ ROA

4. นอกจากดูว่า ROA, ROE ยิ่งสูง ยิ่งดีแล้ว ความสามารถรักษาได้สม่ำเสมอ ก็สำคัญ เพราบริษัทที่ดีดำเนินกิจการไปเรื่อยๆ ก็จะมีการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์และทุน(ส่วนผู้ถือหุ้น) ซึ่งถ้าไม่สามารถทำให้กำไรเพิ่มขึ้นได้ ก็จะทำให้อัตราส่วนนี้ลดลงได้
5. ข้อนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมว่า ROA ในเว็บไซต์ของ set นั้น ส่วนของกำไรที่มาเป็นตัวเศษของ ROA นั้น จะใช้เป็น “กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษี” มาคิดนะไม่ได้ใช้ กำไรสุทธิ
————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้
ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
