ภาษีกับการลงทุนตราสารหนี้

ตราสารหนี้หรือ เอกสารแสดงสิทธิเกี่ยวกับหนี้ ผู้ที่ถือตราสารหนี้จะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ คนถือตราสารหนี้ จะได้ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ตามที่ลูกหนี้ให้สัญญาไว้ และจะได้เงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา

และสามารถนำตราสารหนี้หรือหุ้นกู้นั้นไปขายในตลาดรองได้ จึงสามารถทำกำไรหรืออาจขาดทุนจากส่วนต่างราคาของตราสารหนี้นั้นได้

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

ดังนั้นในการลงทุนตราสารหนี้โดยตรงด้วยตนเองจะได้ผลตอบแทนใน 3 ลักษณะ

1. ดอกเบี้ย ตามที่กำหนดไว้ในตราสารหนี้นั้นๆ เช่น 4% ต่อปี ซึ่งรายได้ตรงนี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

2. ส่วนต่างกำไร จากการซื้อขายตราสารหนี้ รายได้ตรงนี้เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15%

3. ส่วนลดระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตราสาร ในกรณีของหุ้นกู้ที่ออกเสนอขายในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าหน้าตั๋ว (Par value) จะเกิดขึ้นเมื่อดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในตราสารหนี้ต่ำกว่าดอกเบี้ยในท้องตลาดขณะนั้น ส่วนที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้(ParValue) เรียกว่า ส่วนลด จากการซื้อตราสารหนี้เพื่อไปชดเชยกับการที่ผู้ซื้อจะได้รับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด

  • ถ้าเป็นบุคคลธรรมดารายแรกที่ซื้อตั๋วส่วนลด (ผู้ทรงคนแรก) ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และมีสิทธิเลือกไม่นำมาคำนวณตอนสิ้นปีได้
  • ไม่ใช่ผู้ทรงคนแรก ได้รับยกเว้นภาษี

ซึ่งผลตอบแทนที่ได้รับจากตราสารหนี้นั้น จะมีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ดังนั้นถ้าเสียภาษีบุคคลธรรมดาฐานน้อยกว่า 15% ควรนำรายได้ส่วนนี้มารวมยื่นภาษี เพื่อที่จะได้ภาษีที่ถูกหักไปคืน

————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

https://www.skilllane.com/courses/i-investor
Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: