ฐานอัตราภาษีเท่าไหร่ ได้ประโยชน์จากการยื่นเครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีเงินปันผลนั้น เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ในการขอคืนภาษีที่ถูกหักไปคืน เนื่องจากมีการหักภาษีซ้ำซ้อน เพราะก่อนที่บริษัทจะจ่ายปันผลนั้น บริษัทถูกหักภาษีนิติบุคคลไปแล้ว 1 ครั้งจากกำไรของบริษัท เพราะเมื่อเราเป็นผู้ถือหุ้นสามัญ เราจะอยู่ในฐานะเจ้าของร่วม เงินกำไรที่บริษัททำได้จะเป็นของเราตามสัดส่วนที่เราถือหุ้นอยู่ และผู้ถูกหุ้นที่ได้รับเงินปันผลยังถูกหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ก็จะเห็นว่าเป็นการเสียภาษีถึง 2 รอบ พี่สรรพกรจึงทำให้เราสามารถนำเงินภาษีที่ถูกหักมาคิดเป็นเครดิตภาษีเงินปันผลได้

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะ

ตัวอย่างการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลเป็นแบบนี้ ดูตามรูปนะ

ถ้ามานีได้เงินปันผลจากหุ้นของบริษัท A เป็นเงิน 20,000 บ. แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% ดังนั้นเงินเข้ากระเป๋ามานี 18,000 บ. (ถูกหักภาษีไป 2,000 บ.)

ซึ่งบริษัท A นี้จ่ายภาษีนิติบุคคล 20%

เครดิตภาษีเงินปันผลของมานีที่เป็นผู้ถือหุ้น จะเป็นแบบนี้…

= (มูลค่าปันผล X อัตราภาษีนิติบุคคล)/ (100 – อัตราภาษีนิติบุคคล)

= (20,000 x 20) / (100 -20)

= 400,000/ 80 = 5,000 บ.

จากที่เราคำนวณได้ตรงจุดนี้ หมายความว่า มูลค่าเงินปันผลที่เราได้มา 20,000 บ. มีเครดิตภาษีเงินปันผลอยู่ 5,000 บ. ซึ่งเป็นเงินที่เราถูกหักไปในช่วงแรกของภาษีนิติบุคคลในอัตรา 20% ตรงนั้น

และเครดิตเงินปันผลนี้ ก็ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีอย่างหนึ่ง ดังนั้นเราต้องนำเครดิตภาษีตรงนี้มาบวกกับเงินปันผลที่เราได้ เพื่อรวมเป็นรายได้ในก้อนนี้เพื่อเสียภาษี

เงินได้ = เงินปันผล + เครดิตภาษีเงินปันผล

= 20,000 + 5,000 บ. = 27,000 บ.

ถ้าเมื่อคำนวณรายได้ของมานีทั้งปี รวมรายได้อื่นๆ หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว มานีเสียภาษีอยู่ในช่วงอัตราภาษี ขั้น 20% จะเห็นว่าเงินได้ในก้อนนี้ จะเสียภาษีจากตรงนี้ 27,000 x 20% = 5,000 บ.

ลองมาเทียบกันดูว่าคิดและไม่คิดเครดิตภาษีเงินปันผล มานีเสียภาษีเท่าไหร่…

ไม่ใช้เครดิตภาษีเงินปันผล คือ ไม่นำมาคิดตอนยื่นภาษี ซึ่งเราก็สามารถเลือกทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

แต่จะทำให้เราเสียภาษีไปทั้งหมด = เครดิตเงินปันผล รวมกับภาษีเงินปันผลที่เราถูกหัก ณ ที่จ่าย รวมเป็น 5,000 บ. + 2,000 บ. = 7,000 บ.

แต่ถ้านำมาคิดเครดิตภาษีเงินปันผล เราจะถูกนำมาคิดรวมเสียภาษีขั้นเดียวไม่ซ้ำซ้อน และเสียภาษี 5,000 บ. ดังนั้นเราจะได้เงินที่เราถูกหักภาษีไปคืน เพราะหักไปทั้งหมดในขั้นตอนกำไรของบริษัท และจากเงินปันผลที่จ่ายให้ รวมเป็น 7,000 บ. ดังนั้นเราจะได้ภาษีคืน 7,000 – 5,000 = 2,000 บ. นะ

แต่ถ้ามานีเสียภาษีในฐานที่มากหรือน้อยกว่า 20% ได้ประโยชน์จากการนำเงินปันผลหุ้นมายื่นรวมมากน้อยแค่ไหน ลองดูกันได้จากตารางในรูปนะ

และอัตราภาษีเงินได้นิดติบุคคลนั้นโดยทั่วไปเสีย 20% แต่บางบริษัทอาจเสียมากหรือน้อยกว่านี้ ซึ่งในใบของ TSD ที่แจ้งมาว่า เราได้เงินปันผลเท่าไหร่ เขาก็จะมีเขียนไว้ว่า เราได้มาจากเงินกำไรที่ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กี่ %

แนะนำว่า ควรลองคิดทั้งแบบไม่นำมาคิดเครดิตภาษีเงินปันผล และแบบนำมารวมคิดนะ แบบไหนเสียภาษีน้อยกว่าก็ยื่นแบบนั้นไป ซึ่งเดี๋ยวนี้การยื่นเงินปันผลที่นำมาคิดเครดิตภาษีเงินปันผลก็สะดวกมาก แค่โหลดข้อมูลจาก TSD ลงในใบยื่นภาษีออนไลน์ ก็เรียบร้อย ไม่ได้ต้องมานั่งกรอกเองหรือคิดเอง

————————————

มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้

ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

https://www.skilllane.com/courses/i-investor
Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: