มารู้จักตราสารหนี้ผ่านหุ้นกู้ของ ALL กัน

การลงทุนในตราสารหนี้นั้น ผู้ที่ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในระหว่างที่ถือตราสารหนี้ และจะได้รับเงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา (ครบกำหนดอายุของหุ้นก็นั้น)

สนใจรับชมแบบวีดีโอ กดรับชมได้นะคะ

ถ้าตราสารหนี้นั้นออกโดยรัฐบาล จะเรียก พันธบัตรรัฐบาล ถ้าออกโดยบริษัทเอกชนจะเรียกหุ้นกู้

1. ชื่อผู้ออก (issue) จะเป็นการระบุชื่อผู้ออกหุ้นกู้นั้น ซึ่งเราจะเห็นเขาเขียนลักษณะสัญลักษณ์ แบบนี้ เช่น ALL244A ซึ่งตรงสัญลักษณะตรงนี้ จะประกอบไปด้วย

XXXX ชื่อบริษัทที่ออกตราสาร อย่างตัวอย่าง ชื่อผู้ออกตราสารคือ บริษัท ALL บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) แต่ถ้าเป็นพันธบัตรรัฐบาลจะใช้ชื่อผู้ออกตรงนี้ว่า LB = loan bond

YY จะเป็นเลข 2 หลักสุดท้ายของปี ค.ศ. ที่ครบกำหนดไถ่ถอน ในตัวอย่างคือ ปี 2024

M จะบอกเดือนที่ครบกำหนดไถ่ถอน ตัวอย่างคือเดือนน 4 หรือเดือน เมษายน

DD วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน แต่จะมีใส่ไว้เฉพาะที่เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุไม่เกิน 1 ปี) ตัวอย่างตราสารหนี้ของ ALL จึงไม่ได้มีระบุไว้ เพราะมีอายุ 2.5 ปี

A-Z บอกความแตกต่างของตราสารหนี้ที่มีวันครบกำหนดอายุวันเดียวกัน ซึ่งจะเขียนเป็น A ถึง Z จากตัวอย่างคือ รุ่น A หรือรุ่นที่ 1

สรุปสัญลักษณ์ตรงนี้คือ ALL244A หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท ALL ครบกำหนดไถ่ถอน ปี 2024 เดือนเมษายน รุ่นที่ 1

2. วันครบกำหนดอายุ (Maturity date) เป็นวันหมดอายุหรือวันครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้นั้น ซึ่งผู้กู้จะจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้นๆ

3. มูลค่าที่ตราไว้ หรือ Par value มูลค่าเงินต้นที่ผู้กู้จะจ่ายคืนให้กับผู้ให้กู้(หรือผู้ตราสาร) เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ส่วนใหญ่มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วยคือ 1,000 บ.

4. อัตราดอกเบี้ย (Coupon rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกหุ้นกู้นั้นจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้นๆ โดยอาจจะจ่ายเป็นแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่(Fixed rate) เช่น 3% ต่อปี ไปจนครบอายุ หรือจะจ่ายดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว((Floating Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราอ้างอิงที่กำหนด ซึ่ง ALL244A จ่ายแบบ fixed rate 7% ต่อปี

5. ประเภทของตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ(Senior Bond)/ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ(Subordinated Bond or Junior Bond) หุ้นกู้แบบมีหลักประกัน(Secured Bond)/ หุ้นกู้ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond)

หุ้นกู้แบบมีประกัน(Secured bond) คือ หุ้นกู้ที่ผู้ออกมีการเอาสินทรัพย์ของบริษัทมาเป็นหลักประกัน ทรัพย์สินที่นำมาประกัน ก็เป็นได้หลายอย่าง เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน หุ้นสามัญ หรือหุ้นกู้ของบริษัทอื่นที่บริษัทถืออยู่ มาเป็นหลักประกันในการออกหุ้นกู้ของบริษัท

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ที่ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิเท่ากับเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ ในการเรียกร้องให้จ่ายหนี้คืน และ “สูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

ซึ่ง ALL244A เป็นหุ้นกู้มีประกัน โดยใช้ที่ดินและทรัพย์สินของบริษัทมาประกัน

6. เครดิตเรทติ้ง ซึ่งจะบอกถึงความน่าเชื่อของบริษัท และโอกาสในการผิดชำระหนี้น้อยหรือมาก ซึ่งจะมีการจัดอันดับจากบริษัทจัดอันดับ อย่างเช่น TRIS rating มีตั้งแต่ AAA ไปจนถึง D ซึ่งอันดับตั้งแต่ BBB ขึ้นไป ถือเป็นระดับที่ลงทุนได้ หรือ investment grade นะ

ALL244A ไม่มีการจัดเครดิตเรทติ้งไว้ ก็จะเป็นหุ้นกู้ไม่มีเรทติ้งแต่มีประกัน

การมีหลักประกัน ไม่ได้ช่วยให้โอกาสผิดนัดชำระของบริษัทลดลงนะ เพราะเมื่อหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ หรือบริษัทล้มละลาย ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะเป็นตัวแทนไปฟ้องร้องต่อศาล ให้นำสินทรัพย์ที่ค้ำประกันไว้มาขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ให้แก่ผู้ที่ถือหุ้นกู้มีประกัน

และในหุ้นกู้ก็จะมีข้อสัญญาอื่นๆ จะเป็นเงื่อนไขและข้อกำหนดอื่นๆ ว่าผู้ออกหุ้นกู้จะทำหรือไม่ทำ เช่น ผู้กู้สามารถไถ่ถอนได้ก่อนวันครบกำหนดอายุตราสาร(Call option) หรือการที่ผู้ออกหุ้นกู้ต้องคงอัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวกับหนี้ไว้ยังไงบ้าง อ่านรายละเอียดให้ดีก่อนลงทุนนะ

เราสามารถหาข้อมูลของหุ้นกู้ได้ในเว็บไซต์ http://www.thaibma.or.th นะ

——————————————————————–

E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”

การลงทุนในกองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการลงทุนอย่างหนึ่ง และเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาศึกษาเรื่องการลงทุน และติดตามการลงทุนมากนัก

ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เล่าถึงสินทรัพย์แต่ละประเภทคืออะไร เหมาะอย่างไร และรายละเอียดต่างๆ ของกองทุนรวม การค้นหาข้อมูลของกองทุนรวม วิธีการคัดเลือกกองทุนรวมที่ใช่สำหรับคุณ อธิบายอย่างเข้าใจง่ายเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เงินงอกเงย และมีความสุขในระหว่างทางที่ลงทุน

สนใจสามารถสั่งซื้อออนไลน์ จาก OOKBEE ได้ตามลิงค์นี้นะคะ http://www.ookbee.com/Shop/Book/77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed

และสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ meb ได้แล้วเช่นกันค่ะ http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjEyMzg1MyI7fQ

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: