ทำไมกำไรของธนาคารแห่งหนึ่งลดลง

งบการเงินของธนาคารจะเป็นกลุ่มแรกที่ทยอยออกมาให้ได้อ่านกันก่อนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งมีงบการเงินของธนาคารแห่งหนึ่งมีการกันสำรองเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กำไรของธนาคารลดลง มารู้จัก “ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL)”

สนใจรับชมแบบวีดีโอ กดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

ขอเล่าในเรื่องมาตรฐานทางบัญชี TFRS9 (Thai Financial Reporting Standards 9) เล็กน้อย ที่มีการปรับเปลี่ยนการจัดชั้นหนี้ และการตั้งสำรองผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่ง TFRS9 ได้มีการใช้มาได้ 2-3 ปี

การจัดชั้นหนี้ตาม TFRS9 จะแบ่งเป็น 3 ระดับ

ระดับแรก เงินให้สินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต(performing) คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้ผิดชำระหนี้

เมื่อก่อนระดับนี้แทบจะมีการตั้งสำรอง อาจแค่ 1% ของสินเชื่อ ในปัจจุบันจะใช้หลายๆ ปัจจัยมาประเมิน เช่น มูลค่าหนี้ กระแสเงินสดที่ธนาคารคาดว่าจะได้รับจริง อัตราดอกเบี้ยที่เท้จริง ออกมาเป็นผลขาดทุนทางเด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า (1-year expected credit loss)

ตรงนี้อาจจะไม่มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นมาก แต่ที่เปลี่ยนไปชัดในการตั้งสำรองคือชั้น ที่ 2 ที่เคยเรียกว่า ชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ไปอ่านกันต่อเลย

ระดับ 2 เงินให้สินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (under-performing) คือ ลูกหนี้ค้างชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นเกินกว่า 30 วัน

และระดับ 3 เงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (non-performing; NPL) สินเชื่อที่ผิดชำระหนี้หนี้เกิน 3 เดือนติดต่อกัน ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย/ สาญสูญ เลิกกิจการ

ระดับที่ 2 และ ระดับที่ 3 ตั้งสำรองลักษณะเดียวกัน เรียกว่า Lifetime expected credit loss ที่ปรับไปพอสมควรคือระดับที่ 2 เมื่อก่อนอาจตั้งสำรองไม่มาก แต่ตาม TFRS9 ต้องตั้งสำรองพอๆ กับ NPL

จากระดับของลูกหนี้ก็จะคิดคำนวณออกมา เป็น ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL)

ซึ่งจะเห็นว่า จะมีการประเมินสถานการณ์โดยรวม และการประเมินลูกหนี้ของแต่ละสถาบันทางการเงินว่าควรจะมี ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL) มากน้อยอย่างไหร่

ของธนาคารกสิกร หรือ KBANK ได้ประเมินสถานการณ์ที่มีการตั้งค่า ECL ที่เพิ่มขึ้นไว้แบบนี้ “ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น (Expected credit loss : ECL) ในปี 2565 มีจำนวน 51,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน 28.73% เพื่อรองรับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต รวมทั้งการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ยังคงเปราะบาง

นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มความยืดหยุ่น ในการบริหารจดัการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีความพร้อมในการดูแลช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์ของธนาคารเพื่อให้ ลูกค้าสามารถดำ เนินธุรกิจได้เต็มศักยภาพ ตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

โดยอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 154.26% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”

เมื่อมีบรรทัด ผลขาดทุนทางด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss; ECL) เพิ่มขึ้น ก็จะมาเป็นตัวหักออกจากรายได้ ทำให้กำไรสุทธิที่ออกมาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเมื่อกำไรสุทธิลดลงส่งผลให้ ค่า ROE ซึ่งคิดจากกำไรสุทธิหารส่วนผู้ถือหุ้นลดลง และกระทบต่อราคาหุ้นได้

งบการเงินของธนาคารที่ออกมา สามารถเข้าไปดูได้ในหัวข้อ “ข่าว” ตรงหุ้นที่เราสนใจนะ

————————————

มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น

ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: