ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น

เวลาที่เรามีการสั่งซื้อขายหุ้น นอกจากราคาหุ้นที่เราต้องจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่บวกมาด้วยนะ เช่น ถ้าเราซื้อหุ้นราคา 50 บ. จำนวน 200 หุ้น เป็นเงินค่าซื้อหุ้น 10,000 บ. แต่เราไม่ได้จ่าย 10,000 บ. เพราะจะมีเรื่องของค่าธรรมเนียมในการซื้อขายบวกเข้ามาด้วย รวมถึงเวลาที่เราขายหุ้นด้วยเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตรงนี้ ในแต่ละครั้งอาจดูเป็นจำนวนไม่มาก แต่ถ้ามีการซื้อขายบ่อยๆ ก็จะเสียพอสมควรเหมือนกัน

และตั้งแต่ 1 ก.ค. 63 ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น ที่เกิดขึ้นในการซื้อขายหุ้น จะมีค่าธรรมเนียม ATS ที่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับลูกค้าประเภทบัญชีเงินสด (Cash account) โดยมีการปรับเหมือนกันทุกโบรกเกอร์นะ มาอ่านกันว่าค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น มีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง และค่าธรรมเนียม ATS นี้คืออะไร มาอ่านโพสนี้กัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากิงค์นี้นะคะ

Image:Freepik.com



ก่อนอื่นมาเข้าใจกันก่อนว่า บัญชีการซื้อขายหุ้นมีอยู่ 3 แบบ

แบบแรก บัญชีเงินสด หรือ cash account บัญชีแบบนี้เราสามารถสั่งซื้อขายหุ้นไปก่อน แลล้วค่อยจ่ายเงินเต็มจำนวนทีหลังได้ โดยการผูกกับบัญชีหุ้นไว้กับบัญชีธนาคาร

แบบที่ 2 บัญชีเติมเงิน หรือ cash balance เราต้องนำเงินสดไปฝากกับโบรกกเกอร์ก่อน และฝากไว้เท่าไหร่ เราก็ซื้อหุ้นได้เท่านั้น และเวลาขายหุ้น ก็จะได้เงินคืนเข้าบัญชีหุ้นที่เราเปิดไว้

แบบที่ 3 บัญชีกู้ยืมเงิน หรือ credit account หรือ margin account บัญชีที่กู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์มาใช้ในการซื้อหุ้นได้ โดยจะมีคิดดอกเบี้ยจากโบรกเกอร์ บัญชีแบบนี้เหมาะกับมือเก๋า ไม่ค่อยเหมาะกับมือใหม่นัก

มาต่อกันที่ค่าธรรมเนียมหุ้นคืออะไร และค่าธรรมเนียม ATS ที่จะเพิ่มขึ้นมา มีผลตั้งแต่วันนี้ (1 ก.ค. 63) คืออะไร

1. ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือที่เรียกว่าค่าคอมมิชชั่น
การคิดค่าใช้จ่ายนี้ก็ขึ้นกับ วิธีการสั่งซื้อขาย และลักษณะบัญชี ค่าคอมมิชชั่นมักจะใกล้เคียงกันในแต่ละโบรกเกอร์แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถไปดูได้ที่หน้าเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ที่ตนเองใช้บริการว่ามีการคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไร

ถ้าซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่ โทรศัพท์ให้คุณมาร์เกตติ๊ง พิมพ์คำสั่งการซื้อขายให้ ซึ่งข้อดีคือ ถ้ามีการพิมพ์คำสั่งซื้อขายผิด บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เขาจะรับผิดชอบให้ ซึ่งจะคิดค่าคอมนี้ 0.25% สูงกว่าการคีย์คำสั่งซื้อขายด้วยตนเองทางออนไลน์

และถ้าซื้อขายผ่าน internet (พิมพ์คำสั่งการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง)
– บัญชีเงินสด Cash account (วงเงินการซื้อขายหลักทรัพย์ สั่งซื้อไปก่อน และค่อยมาหักบัญชีธนาคารที่ผูกไว้กับบัญชีหุ้น) 0.20%

– บัญชีเติมเงิน Cash balance (ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามจำนวนเงินที่ฝากในบัญชีหุ้น) เสียค่าคอมนี้ 0.15%

– บัญชี Credit balance (วงเงินการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์) เสียค่าคอมมิชชั่น 0.15%

ซึ่งบาง บล. จะมีการกำหนดค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำไว้ เช่น 50 บาทต่อวัน บางโบรกที่ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำไว้และถ้าเราซื้อขายเป็นมูลค่าเงินจำนวนมาก ค่าคอมมิชชั่นนี้อาจได้รับส่วนลดเพิ่ม

2. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บ ซึ่งในนี้จะมีอีก 3 ค่าธรรมเนียมย่อยดังนี้

ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (SET Trading Fee): 0.005%
ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee): 0.001%
ค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแล (Regulatory Fee) : 0.001% (มีการปรับลดลงจากเดิม 0.0018% เป็น0.0010% เมื่อเดือนมกราคม 2560) ซึ่งรวมทั้ง 3 ค่าใช้จ่ายนี้ก็คือ 0.007% (จากเดิม 0.0078%)

3. ค่าธรรมเนียมตัดชำระราคาบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีธนาคาร หรือ ATS (Automatic Transfer System) ในทุกประเภทบัญชีที่ชำระราคาโดยการหักบัญชีเงินฝากธนาคารอัตโนมัติ อย่างเช่น บัญชีเงินสด(Cash account) จะมีค่าธรรมเนียมนี้เพิ่มเข้าด้วย

ค่าธรรมเนียมนี้แต่เดิมโบรกเกอร์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ที่ต้องจ่ายให้กับธนาคาร แต่ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 63 (เดิมก่อนหน้านี้ประกาศว่าจะเก็บตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563) จะเรียกเก็บจากลูกค้าที่ซื้อขายหุ้นแทน เพื่อลดภาระของโบรกเกอร์ โดยเรียกเก็บตามราคาที่เกิดขึ้นจริง รายการละ 14 บาท (เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็น 14.98 บ.) โดยจะเริ่มมีผลรายการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้

4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียคือ 7% การคิดภาษีตรงนี้ จะคิดภาษีจากค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสีย “ไม่ได้คิดภาษีจากราคาหุ้นที่เราซื้อ” นะ

สรุปค่าธรรมเนียมหุ้นที่เราต้องเสียในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งสรุปไว้ให้ดูในรูปนะ ค่าธรรมเนียมเหล่านี้ถึงดูว่าเป็นเงินไม่มาก แต่ถ้ามีการซื้อขายหุ้นบ่อยๆ ก็รวมกันเป็นเงินพอสมควรนะ

————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

One thought on “ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: