ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น

เวลาที่เรามีการสั่งซื้อขายหุ้น นอกจากราคาหุ้นที่เราต้องจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่บวกมาด้วยนะ เช่น ถ้าเราซื้อหุ้นราคา 50 บ. จำนวน 200 หุ้น เป็นเงินค่าซื้อหุ้น 10,000 บ. แต่เราไม่ได้จ่าย 10,000 บ. เพราะจะมีเรื่องของค่าธรรมเนียมในการซื้อขายบวกเข้ามาด้วย รวมถึงเวลาที่เราขายหุ้นด้วยเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตรงนี้ ในแต่ละครั้งอาจดูเป็นจำนวนไม่มาก แต่ถ้ามีการซื้อขายบ่อยๆ ก็จะเสียพอสมควรเหมือนกัน

และตั้งแต่ 1 ก.ค. 63 ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น ที่เกิดขึ้นในการซื้อขายหุ้น จะมีค่าธรรมเนียม ATS ที่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับลูกค้าประเภทบัญชีเงินสด (Cash account) โดยมีการปรับเหมือนกันทุกโบรกเกอร์นะ มาอ่านกันว่าค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้น มีค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง และค่าธรรมเนียม ATS นี้คืออะไร มาอ่านโพสนี้กัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากิงค์นี้นะคะ

Image:Freepik.com



ก่อนอื่นมาเข้าใจกันก่อนว่า บัญชีการซื้อขายหุ้นมีอยู่ 3 แบบ

แบบแรก บัญชีเงินสด หรือ cash account บัญชีแบบนี้เราสามารถสั่งซื้อขายหุ้นไปก่อน แลล้วค่อยจ่ายเงินเต็มจำนวนทีหลังได้ โดยการผูกกับบัญชีหุ้นไว้กับบัญชีธนาคาร

แบบที่ 2 บัญชีเติมเงิน หรือ cash balance เราต้องนำเงินสดไปฝากกับโบรกกเกอร์ก่อน และฝากไว้เท่าไหร่ เราก็ซื้อหุ้นได้เท่านั้น และเวลาขายหุ้น ก็จะได้เงินคืนเข้าบัญชีหุ้นที่เราเปิดไว้

แบบที่ 3 บัญชีกู้ยืมเงิน หรือ credit account หรือ margin account บัญชีที่กู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์มาใช้ในการซื้อหุ้นได้ โดยจะมีคิดดอกเบี้ยจากโบรกเกอร์ บัญชีแบบนี้เหมาะกับมือเก๋า ไม่ค่อยเหมาะกับมือใหม่นัก

มาต่อกันที่ค่าธรรมเนียมหุ้นคืออะไร และค่าธรรมเนียม ATS ที่จะเพิ่มขึ้นมา มีผลตั้งแต่วันนี้ (1 ก.ค. 63) คืออะไร

1. ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือที่เรียกว่าค่าคอมมิชชั่น
การคิดค่าใช้จ่ายนี้ก็ขึ้นกับ วิธีการสั่งซื้อขาย และลักษณะบัญชี ค่าคอมมิชชั่นมักจะใกล้เคียงกันในแต่ละโบรกเกอร์แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถไปดูได้ที่หน้าเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ที่ตนเองใช้บริการว่ามีการคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไร

ถ้าซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่ โทรศัพท์ให้คุณมาร์เกตติ๊ง พิมพ์คำสั่งการซื้อขายให้ ซึ่งข้อดีคือ ถ้ามีการพิมพ์คำสั่งซื้อขายผิด บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เขาจะรับผิดชอบให้ ซึ่งจะคิดค่าคอมนี้ 0.25% สูงกว่าการคีย์คำสั่งซื้อขายด้วยตนเองทางออนไลน์

และถ้าซื้อขายผ่าน internet (พิมพ์คำสั่งการซื้อขายหุ้นด้วยตัวเอง)
– บัญชีเงินสด Cash account (วงเงินการซื้อขายหลักทรัพย์ สั่งซื้อไปก่อน และค่อยมาหักบัญชีธนาคารที่ผูกไว้กับบัญชีหุ้น) 0.20%

– บัญชีเติมเงิน Cash balance (ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามจำนวนเงินที่ฝากในบัญชีหุ้น) เสียค่าคอมนี้ 0.15%

– บัญชี Credit balance (วงเงินการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์) เสียค่าคอมมิชชั่น 0.15%

ซึ่งบาง บล. จะมีการกำหนดค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำไว้ เช่น 50 บาทต่อวัน บางโบรกที่ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำไว้และถ้าเราซื้อขายเป็นมูลค่าเงินจำนวนมาก ค่าคอมมิชชั่นนี้อาจได้รับส่วนลดเพิ่ม

2. ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บ ซึ่งในนี้จะมีอีก 3 ค่าธรรมเนียมย่อยดังนี้

ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ (SET Trading Fee): 0.005%
ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (TSD Clearing Fee): 0.001%
ค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแล (Regulatory Fee) : 0.001% (มีการปรับลดลงจากเดิม 0.0018% เป็น0.0010% เมื่อเดือนมกราคม 2560) ซึ่งรวมทั้ง 3 ค่าใช้จ่ายนี้ก็คือ 0.007% (จากเดิม 0.0078%)

3. ค่าธรรมเนียมตัดชำระราคาบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีธนาคาร หรือ ATS (Automatic Transfer System) ในทุกประเภทบัญชีที่ชำระราคาโดยการหักบัญชีเงินฝากธนาคารอัตโนมัติ อย่างเช่น บัญชีเงินสด(Cash account) จะมีค่าธรรมเนียมนี้เพิ่มเข้าด้วย

ค่าธรรมเนียมนี้แต่เดิมโบรกเกอร์เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ที่ต้องจ่ายให้กับธนาคาร แต่ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 63 (เดิมก่อนหน้านี้ประกาศว่าจะเก็บตั้งแต่ 1 เม.ย. 2563) จะเรียกเก็บจากลูกค้าที่ซื้อขายหุ้นแทน เพื่อลดภาระของโบรกเกอร์ โดยเรียกเก็บตามราคาที่เกิดขึ้นจริง รายการละ 14 บาท (เมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็น 14.98 บ.) โดยจะเริ่มมีผลรายการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 นี้

4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียคือ 7% การคิดภาษีตรงนี้ จะคิดภาษีจากค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสีย “ไม่ได้คิดภาษีจากราคาหุ้นที่เราซื้อ” นะ

สรุปค่าธรรมเนียมหุ้นที่เราต้องเสียในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งสรุปไว้ให้ดูในรูปนะ ค่าธรรมเนียมเหล่านี้ถึงดูว่าเป็นเงินไม่มาก แต่ถ้ามีการซื้อขายหุ้นบ่อยๆ ก็รวมกันเป็นเงินพอสมควรนะ

————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

One thought on “ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น

ใส่ความเห็น