ทำไมต้องคิดผลตอบแทนแบบ IRR และผลตอบแทนแบบ IRR นี้คืออะไร พร้อมยกตัวอย่างประกันชีวตแบบสะสมทรัพย์ มาอ่านโพสนี้กันค่ะ
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ มักจะเป้นประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่หลายคนน่าจะมี เพื่อจะนำมาใช้ลดหย่อนภาษี เพื่อการออมเงิน และได้รับความคุ้มครอง
ลองมาดูว่า ถ้าเราจะคิดผลตอบแทนของประกันสะสมทรัพย์แบบง่ายๆ ด้วยการรวมเงินคืนทั้งหมดที่เราจะได้รับ แล้วนำเงินที่เราได้ออกมาทั้งหมดลบด้วย เงินทั้งหมดที่เราจ่ายมา ส่วนที่เหลือคือ “กำไรสุทธิ” หรือผลตอบแทนทั้งหมดที่เราได้รับ คิดคร่าวๆ แบบนี้…
ผลตอบแทนที่ได้รับ = เงินที่ได้รับ – เงินที่จ่าย
มาดูตัวอย่างประกันออมทรัพย์แบบหนึ่งกัน ใช้ชื่อว่า 15/9
โดยเราต้องจ่ายเงินทุกปี ปีละ 30,000 บ. ไปเป็นเวลา 9 ปี
และเราจะได้เงินคืนมาแต่ละปี 5,000 บ. ไปเรื่อยๆ ทุกปี เป็นเวลา 15 ปี
โดยที่ปีที่ 15 นั้นจะมีคืนเงินมาอีก 250,000 บ.
ดังนั้นปีที่ครบกำหนดสัญญา ได้เงินคืนรวมสิ้นปีที่ 15 = 255,000 บ.
ถ้าซึ่งถ้าเราคิดโดยคิดแค่ว่า เราจ่ายเงินไปทั้งหมดเท่าไหร่ และเราได้คืนออกมาเท่าไหร่ แบบนี้…
เงินคืนแต่ละปีทั้งหมด = 5,000 บ. X 14 ปี = 70,000 บ.
เงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา = 255,000 บ.
เงินที่ได้รับทั้งหมด = 70,000 + 255,000 = 325,000 บ.
เงินที่เราจ่ายทั้งหมด = 30,000 บ. X 9 ปี = 270,000 บ.
เท่ากับเราได้ผลตอบแทน = 325,000 – 270,000 บ. = 55,000 บ.
แล้วเราก็นำมาหารเงินต้น ออกเป็น % แล้วก็หารด้วยจำนวนปี เราก็จะได้ผลตอบแทนออกเป็น % ต่อปี
การคิดผลตอบแทนแบบนี้ เราอาจลืมบ้างอย่างไป…
จากตัวอย่างนี้ทำให้เราไม่สามารถเทียบกันได้ตรงๆ แค่ว่า ตกลงเราได้กำไรออกมาทั้งหมดเท่าไร่ได้ เพราะแต่ละประกันสะสมทรัพย์นั้น มีเงื่อนไขของการจ่ายเงินออกมาให้เราต่างกัน และจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเข้าไปก็ต่างกัน
เราจึงต้องคิดผลตอบแทนที่เราเรียกว่า IRR (Internal Rate of Return) แทน ถ้าจะอธิบาย IRR แบบวิชาการอาจจะงงเล็กน้อย เพราะมันคือ อัตราคิดลด (discount rate) ที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิรวม (Net present value: NPV) มีค่าเท่ากับ 0 ถ้าตรงนี้ไม่เข้าใจ ก็ข้ามไปก็ได้นะ
เอาเป็นว่า มันเป็นการคำนวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนว่าจะเราได้รับต่อปีกี่ % โดยมีการคำนึงถึงมีกระแสเงินสดเข้าและออกตามแต่ละเวลาก็แล้วกัน จึงเป็นตัวหนึ่งที่ใช้เพื่อใช้ตัดสินใจในการลงทุนนั้นๆ
ดังนั้นถ้าเราจะเปรียบเทียบระหว่างประกันแบบสะสมทรัพย์ อย่างหนึ่งที่เราต้องดู นอกจากเรื่องของความคุ้มครอง เงินที่จะได้รับคืนหากเวรคืนก่อนกำหนด เราต้องเทียบด้วยผลตอบแทนแบบ IRR เพราะเงินที่เข้าออกต่างกันในประกันสะสมทรัพย์ หรือประกันออมทรัพย์ในแต่ละลักษณะ การคิดออกมาเป็น IRR ถึงจะเทียบกันได้ ซึ่งบางทีเขาอาจไม่ได้บอกไว้ เราก็สามารถถามเจ้าหน้าที่ประกันได้ หรือจริงๆ ่เราก็สามารถคำนวณผลตอบแทนแบบ IRR ได้แบบง่ายๆ ด้วยโปรแกรม excel โดยมีการตั้งแต่ละ column เป็นเงินสดเข้าออก ตามแต่ละปี ซึ่งวิธีการคำนวณเองก็ง่าย และสะดวก แบบนี้…
ถ้าสนใจจะลงทุนประกันแบบออมทรัพย์ เพื่อไว้ออมและลดหย่อนภาษี อย่าลืมถามตัวแทนประกันด้วยว่า ผลตอบแทนแบบ IRR คือเท่าไหร่ เพื่อที่เราจะได้ไว้เป็นตัวหนึ่งในการตัดสินใจ และไว้เปรียบเทียบกับประกันออมทรัพย์ตัวอื่นได้
———————————–
E-book ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม ที่เล่าถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน วิธีการเลือกกองทุนตลาดเงิน ตราสารหนี้ หุ้น กองทุนประหยัดภาษี
ใครสนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่าน และสั่งซื้อได้จาก OOKBEE ตามลิงค์นี้นะคะ
และสามารถสั่งซื้อได้ทาง Meb ได้ด้วยเช่นกันค่ะ
