เวลาที่เราสนใจกองทุนรวมกองหนึ่ง และอยากรู้ว่า กองนั้นๆน่าสนใจลงทุนไหม นอกจากดูเรื่องนโยบายของกองทุน และค่าธรรมเนียม ที่สำคัญอีกเรื่องก็คือเรื่องผลงานที่ผ่านมา
ซึ่งนอกจากเราจะดูว่า ที่ผ่านมากองทำผลงานได้กี่ % ต่อปีแล้ว เขาก็จะมีข้อมูลแบบเปรียบที่จะทำให้เห็นได้ชัดขึ้นว่า กองทุนนั้นที่เรากำลังจะตัดสินใจลงทุนนั้นทำผลงานได้เป็นอย่างไหร่บ้าง ซึ่งบางข้อมูลเปรียบเทียบก็จะมีแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวน แต่บางการเปรียบเทียบต้องเข้าไปใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์อื่น
ลองมาดูกันว่ามีการเทียบผลงานกองทุนยังไงบ้าง…
1. เทียบกับตัวชี้วัด ซึ่งก็คือ benchmark ที่เขาแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น กองทุนรวมหุ้นตัวชี้วัด หรือ benchmark ก็คือ SET TRI (SET TRI คือเป็นการนำผลตอบแทนทั้ง capital gain และเรื่องเงินปันผลมารวมด้วย ถ้าเป็นกองที่มีนโยบายแบบ active ผลงานควรดีกว่าตัวเทียบ ถ้าเป็นกองแบบ passive ผลงาน หรือผลตอบแทนที่ผ่านมาพอๆกับตัวเทียบก็ถือว่าโอเค
เวลาเปรียบเทียบกับตัวชี้วัดอย่าลืม เปรียบเทียบเรื่องความผันผวนของผลการดำเนินงานด้วยนะ ซึ่ง “ความผันผวนของผลตอบแทนน้อยๆ จะดี” ดังนั้นค่านี้ถ้าให้ดีก็ควรน้อยกว่า ตัวเทียบนะ
ข้อสังเกตเพิ่มเติม กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นนั้น benchmark จะใช้ดัชนีตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือ 1 ปี จึงทำให้เมื่อนำผลงานของกองเหล่านี้เทียบกับ benchmark vาจจะสู้ benchmark ไม่ได้ ดังนั้นการดูกองพวกนี้อาจใช้การเปรียบเทียบในลักษณะอื่นดูร่วมด้วย
2. ผลการดำเนิงานเมื่อเทียบกับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า Peer group Fund Performance เป็นการเทียบกองทุนที่เราสนใจอยู่ กับกองทุนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันว่า ผลการดำเนินงานอยู่ตรงไหนของกลุ่ม ซึ่งข้อมูลนี้เขาก็มีแสดงไว้ในหนังสือชี้ชวน ข้อมูลที่เราจะได้คือ เขาก็จะบอกว่า กองทุนที่เราสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกันในระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentiles) ต่างๆ แล้วอยู่ตรงไหนของกลุ่ม
เปอร์เซ็นไทล์ เป็นค่าที่นำชุดข้อมูลมาเรียงกันตามลำดับ แล้วแบ่งออกเป็น 100 ส่วนเท่าๆ กัน โดยแบ่งออกเป็น
– 5th Percentile ผลการดำเนินงานที่ดีอยู่ใน top 5% แรกของกลุ่ม
– 25th Percentile ลการดำเนินงานที่ดีอยู่ใน 25% แรกของกลุ่ม
– 50th Percentile ผลการดำเนินงานที่เป็น Median Performance ก็คือที่ 50 เปอร์เซ็นต์ไทล์ อยู่ตรงค่ากลางของข้อมูลพอดี
– 75th Percentile ผลการดำเนินงาน Bottom 25% performance ของกลุ่ม
– 95th Percentile ผลการดำเนินงาน Bottom 5% performance ของกลุ่ม
ดังนั้นก็จะทำให้เรารู้ว่ากองทุนที่เรากำลังดูข้อมูลอยู่นั้นทำผลงานที่ผ่านมาได้ระดับไหนของกลุ่ม
สำหรับตรงนี้ นอกจากดูเทียบผลงานแล้ว อย่าลืมเทียบความผันผวนของผลตอบแทนด้วยนะ ซึ่งความผันผวนที่น้อยก็จะดี ซึ่งการเรียงค่าความผันผวนนั้น กองที่ค่าความผันผวนน้อย ก็จะถูกเรียงอยู่ใน top ของกลุ่ม และไล่ลงไปนะ
.
.
3. เทียบผลงานกองทุนโดยเปรียบเทียบระหว่างกองทุนที่เป็นลักษณะเดียวกัน ที่เราสนใจ และเลือกมาแล้ว โดยใช้เว็บไซต์ของ http://www.morningstarthailand.com หรือ http://www.wealthmagik.com ในหัวข้อ “เปรียบเทียบกองทุน” ซึ่งการเปรียบเทียบตรงนี้ ข้อมูลที่ได้นอกจากดูเรื่องผลตอบแทน และความผันผวนของผลตอบแทนแล้ว เราจะมีข้อมูลเรื่องของค่าธรรมเนียมมาเทียบกันด้วยนะ ก็ดูตรงนี้ไปด้วยนะ
ดังนั้นการตัดสินใจลงทุนกองทุนรวมนั้น นอกจากเราดูว่ากองทุนนั้นทำผลตอบแทนได้เท่าไหร่ ควรใช้การเปรียบเทียบมาช่วยด้วยนะ
————————————
E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”
ที่อธิบายถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน
วิธีการเลือกกองทุนรวมลักษณะต่างๆ ให้เหมาะกับแผนการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ตราสารหนี้ การเลือกกองทุนหุ้นแบบ passive และ active fund รวมไปถึงกองทุนประหยัดภาษี
สนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่านและสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ ookbee และ meb ได้เลยนะคะ

One thought on “3 เทคนิค เปรียบเทียบกองทุนรวม”