งบกระแสเงินสด คือ งบที่ดูการไปมาของเงินสด เป็นงบการเงินที่สำคัญงบหนึ่งใน 3 งบการเงิน นอกจาก งบดูล งบกำไรขาดทุน เพราะงบกระแสเงินสดนั้นทำให้เห็นสภาพคล่องของกิจการ และเป็นงบที่ทำให้เราเห็นกำไรที่ไม่หลอกตา เพราะในกำไรขาดทุนนั้น จะมีการบันทึกบัญชีเป็นลักษณะคงค้าง ซึ่งบ้างครั้งไม่ได้มีเงินสดเข้ามาในบริษัทจริงๆ แต่เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น
และถ้าเทียบกับงบดุล และงบกำไรขาดทุนแล้ว งบกระแสเงินสดนี้ถือว่ามีความยุ่งยากและซับซ้อนพอสมควร แล้วเราจะเริ่มฝึกอ่านงบนี้ยังไง ได้ลองสรุปเป็น 3 ขั้นตอนที่จะทำให้เราอ่านงบนี้เป็น จะได้ลองไปปรับใช้กัน
1. เข้าโครงสร้าง และหลักการของงบกระแสเงินสดนี้ก่อน ถ้าใครได้เคยอ่านหหนังสือ “คู่มือ SCAN หุ้น” จะเขียนไว้ว่า หลักการของงบกระแสเงินสด คือ
– ดูเฉพาะการไปมาของเงินสด ไม่ใช่เงินสดไม่คิด แต่ในการจัดทำงบนี้ ไม่ได้ตั้งต้นทำตัวเลขใหม่ทั้งหมด แต่ เขาจะเริ่มจาก “กำไรก่อนภาษี” แล้วค่อยๆ นำตัวเลขต่างๆ ที่ไม่ใช่เงินสด และที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนนั้นๆ มา บวกหรือลบออก เพื่อให้เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นเงินสดเข้าออกจริง
– เงินสดที่เข้าบริษัทไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เงินสดที่เข้ามาทำให้บริษัทมีเงินสดเพิ่ม แต่ถ้าเงินสดออกจากบริษัท จะเป็นยอดลบ เช้น เงินสดเข้าบริษัทจากการทำมาค้าขาย หรือจะกู้ยืมเขามา เงินสดเข้าบริษัท ก็ถือว่า ทำให้เงินสดในบริษัทเพิ่ม จะมียอดเป็น “บวก” เข้ามา เงินที่ออกจากบริษัท ไม่ว่า นำเงินไปลงทุนซื้ออาคาร เครื่องจักร หรือจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น เงินสดออกจากบริษัทไป จะทำใ้ห้ เงินสด เป็น “ลบ”

– โครงสร้างหลัก ของงบกระแสเงินสดนี้จะแบ่งย่อยอีก 3 ส่วนคือ
1) เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ก็จะดูเฉพาะเงินสดที่เข้าหรือออกเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ การซื้อมาขายไป ตรงนี้จะทำให้เห้นว่าในการดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการนั้น ทำให้มีเงินสดเข้ามาในบริษัทหรือไม่ หรือเป็นกำไรจากแค่ตัวเลขทางบัญชี ดังนั้น เงินสดส่วนนี้ให้ดี ภาพรวมควรเป้น “บวก”
2) เงินสดจากกิจกรรมการลงทุน ดูเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเท่านั้น เช่น ลงทุนสร้างโรงงาน ขยายกิจการ หรือขายกิจการบางส่วน ขายเงินลงทุนบางส่วน ดังนั้นเงินสดส่วนนี้ โดยรวมควรเป็น “ลบ” แสดงว่า ได้นำเงินไปลงทุนขยายกิจการ
3) เงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน ดูการไปมาของเงินสดเฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนนี้ เช่น ไปกู้เงินมา ใช้หนี้เงินกู้ จ่ายเงินปันผล เงินสดส่วนนี้ควรเป็น “ลบ” ไม่ไปแอบก่อหหนี้ และมีเงินสดเหลือจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น
เมื่อเข้าใจโครงสร้างงบกระแสเงินสดแล้ว ขั้นต่อไปควรนำงบกระแสเงินสดของหุ้นจริงมาอ่าน
2. ฝึกอ่านงบจริง เมื่อเราพอเข้าใจโครงสร้าง และหลักการ ให้เริ่มฝึกอ่านงบจริง แนะนำว่าให้ลองหางบของกิจการที่ยังไม่ใหญ่มาก และเราพอรู้จัก เช่น หุ้น PB ที่เป็นกิจการขนมปังฟาร์มเฮาส์, หุ้น BEAUTY เครื่องสำอางค์ยี่ห้อนี้, หุ้น TKN สาหร่ายเถ้าแก่น้อย, หุ้น AU ของร้าน ขนม After you เป็นต้น ไม่ได้บอกว่าหุ้นนี้ดีหรือไม่ดีนะ แค่กิจการยังไม่ซับซ้อน และเราพอรู้จัก จะทำให้การอ่านงบเราง่ายขึ้น
ถ้าเราเริ่มอ่านงบกระแสเงินสดของกิจการที่ยังไม่ใหญ่หรือซับซ้อนมาก การอ่านงบจะง่ายขึ้น
3. เว้นสิ่งเล็กๆ บ้าง เนื่องจากงบกระแสเงินสดมีรายละเอียดมาก มีหลากหลายหัวข้อ ยิ่งเป็นกิจการที่ใหญ่หรือซับซ้อน จะมีรายละเอียดมาก ดังนั้นบางครั้งถ้าตัวเลขในรายการนั้นๆ ที่เขียนในงบ ไม่ได้เป็นเงินที่เป็นจำนวนมากนัก เราอาจพอมองผ่านๆ ไปได้บ้าง
ใครกำลังฝึกอ่านงบการกระแสเงินสด ลองนำไปปรับใช้กันดู และได้ทำตัวอย่างการอ่านงบกระแสเงินสดของหุ้น BEAUTY มาให้ดูกัน จะได้เข้าใจมากขึ้น กดดูได้จาก Link นี้นะ
————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น
เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย
