เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 64 หลายคนนน่าจะได้ข่าวว่า หุ้นตัวหนึ่งราคาดิ่ง floor ที่ 7.85 บ. หรือ ช่วงก่อนหน้านี้ที่หุ้น OR เข้าซื้อขายวันแรกในตลาด (11 ก.พ. 64) มีราคา ceiling อยู่ที่ 54 บ. ซึ่งราคา IPO ของหุ้น OR คือ 18 บ. ราคา ceiling และ floor คืออะไร มาอ่านได้จากโพสนี้กัน…
สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ
ราคา ceiling (ราคาเพดาน) และ floor(ราคาพื้น) เป็นราคาที่ถูกกำหนดขึ้นของหุ้นแต่ละตัวเพื่อให้เกิดความผันผวนมาก เพราะเมื่อถึงราคา ceiling และ floor แล้ว จะไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายในราคาที่สูงกว่า ceiling ได้ และเมื่อราคาถึง floor แล้ว ก็จะไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายในราคาที่ต่ำกว่านี้ได้
สำหรับหุ้นสามัญที่ซื้อขายกันในตลาดหหุ้นบ้านเรานั้นเดิม กำหนด ราคา ceiling และ floor ไว้ +/- 30% จากราคาปิดของวันก่อนหน้า ดังนั้นราคา ceiling และ floor ก็จะเปลี่ยนไปในทุกวัน ขึ้นกับราคาปิดของหุ้นนั้นในวันก่อนหน้า เช่น
ถ้าราคาปิดหุ้นนั้นของวันก่อนหน้า อยู่ที่ราคา 40 บ.
ราคา ceiling = ราคาปิดของวันก่อนหน้า + ( 30% x ราคาปิดของวันก่อนหน้า) = 52 บ.
และ floor = ราคาปิดของวันก่อนหน้า – ( 30% x ราคาปิดของวันก่อนหน้า) = 28 บ.
ซึ่งในหน้าจอของโปรแกรม streaming ที่ซื้อขายหุ้นออนไลน์ ก็จะมีแสดงราคา ceiling และ floor ไว้..มี
ในช่วงปีที่แล้ว 2563 ที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงได้มีการปรับเกณฑ์ ceiling และ floor ของหุ้นสามัญใหม่ โดยปรับลด ceiling และ floor จากเดิม +/- 30% เป็น + /- 15% มีผล 18 มีนาคม 63 – 30 กันยายน 63 หลังจาก 1 ตุลาคม 2563 ก็ได้ปรับขึ้นมาใช้ตามเกณฑ์เดิมสำหรับหุ้นสามัญ คือ +/- 30% จากราคาปิดของวันก่อนหน้า
ส่วนหุ้น IPO ที่เข้ามาซื้อขายในตลาดหุ้นวันแรกนั้นยังเป็นเกณฑ์เดิม คือ Ceiling อยู่ที่ราคา ไม่เกิน 3 เท่า จากราคา IPO และ Floor ไม่ต่ำกว่า 0.01 บาท เช่น หุ้น OR ราคา IPO คือ 18 บ. ราคา ceiling จึงเป็น 3 x 18 บ. = 54 บ.และ floor คือ 0.01 บ.ดังนั้นเมื่อหุ้น IPO เข้ามาซื้อขายในตลาดวันแรก จะเป็นเกณฑ์ ceiling และ floor คนละเกณฑ์กับหุ้นที่ซื้อขายกันอยู่แล้วในตลาด
ราคา ceiling (ราคาเพดาน) และ floor(ราคาพื้น) จึงเป็นราคาที่ถูกกำหนดขึ้นของหุ้นแต่ละตัวเป็นกรอบไว้ เพื่อให้เกิดความผันผวนของราคาหุ้นมากนั่นเอง
—————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเองเข้าใจง่าย ใช้ได้จริงเป็นคอร์สที่จัดทำพิเศษสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น
ถ้าสนใจเข้าไปอ่านรายละเอียด และลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

One thought on “Ceiling และ floor คืออะไร??”