Forward P/E อัตราส่วนความคาดหวัง

ถ้าพูดถึงค่า P/E นั้น หลายคนน่าจะรู้จัก ซึ่งในความเรียบง่ายนี้ ก็มีสิ่งที่น่าสนใจ มารู้จัก Forward P/E ที่มักจะเห็นตามบทวิเคราะห์กันว่าคืออะไร

สนใจรับชมแบบวีดีโอ กดรับชมได้จกลิงค์นี้นะคะ

PE ไว้ประเมินมูลค่าหุ้น

P/E คือ price to earning ratio

P/E = ราคา (price) / กำไรต่อปี (earning)

P/E เป็นค่าที่แสดงว่ากี่ปีคืนทุน ถ้าบริษัททำกำไรเท่าเดิมตลอด

ร้านอาหารมานะ มีกำไร 1,000,000 บ.ต่อปี เราซื้อร้านนี้มาราคา 8,000,000 บ.    

นั่นคือ P/E = 8,000,000/ 1,000,000 = 8 เท่า

ถ้าร้านนี้ทำ “กำไรเท่าเดิมตลอด” (ขอเน้นว่าเท่าเดิมตลอด) ใช้เวลา 8 ปี ในการคืนทุน

P/E ที่ส่วนใหญ่เขาพูดถึง จะมี 2 ค่า ซึ่งเราต้องดูว่าเขาพูดถึงค่าไหนนะ

(1) Trailing P/E หรือ P/E ย้อนหลัง เป็นการคำนวณมาจากกำไรย้อนหลัง 12 เดือน (4 ไตรมาส) เป็น P/E ที่คิดมาจากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง เราจะเห็นได้ตามเว็บไซต์ของ www.set.or.th ตรงตารางสรุปงบในหุ้นที่เราสนใจ

(2) Forward P/E หรือ P/E ล่วงหน้า คำนวณจากราคาหุ้นปัจจุบัน หารด้วย “กำไรในอนาคตที่คาดการณ์ หรือ กำไรต่อหุ้นในปีหน้า” เนื่องจากมันเป็นการคาดเดาอนาคต จึงมีความไม่แน่นอนได้ ค่า Forward P/E จะเห็นตามบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ต่างๆ

Trailing P/E คือ P/E ที่วัดความถูกแพงของราคาหุ้นปัจจุบัน จากกำไรที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ Forward P/E คือ ความถูกแพงของราคาหุ้นปัจจุบัน เมื่อเทียบกับกำไรในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

ลองมาดูตัวอย่างกัน…
หุ้นบริษัทปิติจำกัด ราคาต่อหุ้นอยู่ที่ 20 บ. และมีกำไรต่อหุ้น ที่ 1 บ./หุ้น แบบนี้ Trailing P/E จะเท่ากับ 20 เท่

แต่ถ้าเราคาดการณ์ว่าหุ้นบริษัทปิตินี้มีการเติบโต จะมีการเติบโตของกำไรสุทธิเป็น 2 เท่าในปีถัดไปซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้น จาก 1 บ. เพิ่มเป็น 2 บ.

Forward P/E ก็จะเท่ากับ 10 (เพราะราคาหุ้นตอนนี้คือ 20 บ.หารกำไรที่คาดเดาคือ 2 บ./หุ้น) แบบนี้ราคาหุ้นของบริษัทปิติที่ตอนนี้ 20 บ. ก็อาจน่าสนใจ เพราะ Forward P/E แค่ 10 เท่า เท่านั้น

จากตัวอย่าง หุ้นตัวหนึ่ง หุ้นนี้ราคาหุ้นปัจจุบัน 64 บ. ปีที่ผ่านมา EPS (earning per share หรือกำไรต่อหุ้น) 1.6 บ. คิดเป็น P/E ที่ 40 เท่า

และคาดการณ์ว่า ในปีนี้การเติบโตจะเพิ่มขึ้น 40% จากเดิม จะทำให้ EPS กลายเป็น 1.6 (1+0.4) = 2.24 บ.ต่อหุ้น

Forward P/E เป็น ราคาหุ้นปัจจุบัน/ EPS ที่คาดการณ์ จะเป็น 64/ 2.24 = 28 เท่า

เราก็จะเห็นว่า ถ้ามีการคาดการณ์ว่ากำไรจะมีการเติบโตในอนาคต ก็จะทำให้นักลงทุนยอมซื้อขายกันที่ราคาหุ้นสูง แต่ที่ต้องระวังว่า ถ้าการเติบโตไม่เป็นอย่างที่คิด อาจจะทำให้ตกลงมาได้ เช่น หุ้นกลุ่ม tech ที่ในปีนี้ราคาหุ้นมีการปรับลดลงมามาก เมื่อการเติบโตไม่เป็นไปตามที่คาด

————————————

มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น

ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบ สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้

ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

https://www.skilllane.com/courses/i-investor

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น