สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่ กบข. เปลี่ยนปี 66

ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๖ มีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญใน 5 ประเด็น มาอ่านกัน

กบข. หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นสวัสดิการที่ดีที่รัฐมีให้กับข้าราชการ เราส่งเงินออมเข้าไป รัฐช่วยออมเพิ่ม เป็นการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ และสามารถนำยอดเงินที่เราสะสมเข้าไปทุกเดือนมาลดหย่อนภาษีได้

เงินที่ส่งเข้า กบข. จะเป็นลักษณะนี้

ส่วนที่เราส่งเข้าไปใน กบข. ทุกเดือน เรียก “เงินสะสม” มี 2 ส่วนย่อย

– “เงินสะสม” ส่งทุกเดือนในอัตรา 3% ของเงินเดือน บังคับพื้นฐาน

– “เงินสะสมส่วนเพิ่ม” เงินที่เราสมัครใจสะสมเพิ่มจากอัตราที่กำหนดไว้ แต่จะไม่สะสมเพิ่มก็ได้แล้วแต่เรา

อีกส่วนรัฐจะช่วยเราออมเพิ่มจะมี 2 ส่วนคือ

– “เงินสมทบ” เงินที่รัฐช่วยออมเพิ่มให้ในอัตรา 3% ของเงินเดือนสมาชิก เงินสมทบตรงนี้จะเท่านี้ถึงแม้ว่าเราจะสะสมเพิ่มจาก 3% ก็ตามนะ

– “เงินชดเชย” เงินที่ภาครัฐช่วยส่งเพิ่มให้อีกทุกเดือน ในอัตรา 2% ของเงินเดือนสมาชิก

และมีเงินอีกอย่างคือ “เงินประเดิม” เงินที่รัฐให้เป็นก้อน ก้อนหนึ่ง แต่เฉพาะสมาชิก กบข. ที่เป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 โดยให้เป็นเงินก้อนในวันที่สมัครเป็นสมาชิก กบข. ครั้งเดียว

เงินที่ส่งเข้า กบข. ในแต่ละครั้ง จะถูกนำไปแปลงเป็นมูลค่าหน่วยลงทุน (เหมือนเวลาเราเอาเงินไปซื้อกองทุนรวม) ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายแผนการลงทุน สมาชิกสามารถปรับเปลี่ยนได้

สรุป 5 ประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนในปีนี้

1. สามารสะสมส่วนเพิ่มได้สูงสุด 27% ของเงินเดือน เมื่อรวมกับเงินสะสม 3% จะสามารถออมกับ กบข. ได้สูงสุดถึง 30% จากเดิม ที่สะสมเพิ่มได้สูงสุดเพียง 12% ซึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสม 3% จะเป็นสูงสุด 15% เท่านั้น

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของ กบข. กำหนดไว้ว่า สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บ. เช่น ถ้าหักเข้า กบข. ทั้งปี 600,000 บ. แบบนี้จะนไปลดหย่อนได้ 500,000 บ.

และมีเงื่อนไขสำคัญอีกข้อก็คือ เมื่อรวมกับ SSF, RMF, ประกันบำนาญ แล้วไม่เกิน 500,000 บ. ด้วยนะ

2. เมื่อเปลี่ยนแผนการลงทุน จะมีผลต่อเงินทุกประเภท จากเดิมที่ถ้าเปลี่ยนแผน เงินประเดิม (ถ้ามี) และเงินชดเชย จะถูกกำหนดให้ลงทุนในแผนหลัก และเงินส่วนอื่นถึงจะปรับเปลี่ยนไปอยู่แผนที่เปลี่ยนไป แต่ตอนนี้ถ้าเปลี่ยน คือเงินทุกส่วนจะเปลี่ยนหมด

3. สมาชิก กบข.ใหม่ ถ้าไม่ได้เลือกแผนการลงทุน จะกำหนดแผนการลงทุนเริ่มแรกเป็น “แผนสมดุลตามอายุ” ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนสินทรัพย์งทุนตามอายุ เช่น อายุน้อยจะมีหุ้นมากหน่อย และพออายุมากขึ้นจะเป็นตราสารหนี้มาก จากเดิมที่ถูกกำหนดให้อยู่ในแผนหลัก ซึ่งแผนหลักจะมีตราสารหนี้ประมาณ 60% หุ้น 25% และสินทรัพย์อื่น 15%

ซึ่งใน 3 ประเด็นนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 แต่สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จะอยู่ในแผนการลงทุนเดิมก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะแสดงความประสงค์เลือกแผนการลงทุนนะ

4. สามารถโอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) มา กบข. ได้ ดังนั้นถ้าใครทำงานเอกชนแล้วต่อมามารับราชการ ก็โอนย้าย PVD มาได้

5. ผู้ออมต่อกับ กบข. สามารถเลือกเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ จากเดิม ถูกกำหนดให้ลงทุนในแผนเดิมก่อนออกจากราชการ

ใน 2 ประเด็นหลัง ข้อ 4 และ 5 นี้ จะมีผลบังคับใช้เมื่อคณะกรรมการ กบข. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดแล้ว

เงินจาก กบข. ถ้าเราออกจากสมาชิก กบข. ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ไม่ว่าเราจะทำงานมากี่ปีก็ตาม ส่วนเงินที่เราจาก กบข. คือ เงินสะสม เงินสะสมส่วนเพิ่ม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวด้วย แต่ในส่วนของเงินชดเชย และเงินประเดิม และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว จะได้ก็ต่อเมื่อเลือกรับเป็นบำนาญเท่านั้น ถึงจะได้เงินในส่วนนี้ของ กบข.

กบข. นั้นถือว่าเป็นสวัสดิการที่ดีที่รัฐมีให้กับคนที่รับราชการ เป็นการออม และลงทุนเพื่อการเกษียณ โดยมีรัฐช่วยออมเพิ่ม และสามารถนำมูลค่าเงินที่สะสมเข้า กบข. ในแต่ละปีมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย

สามารถอ่านพระราชบัญญัติที่ออกมาใหม่นี้ได้จากเว็บไซต์ กบข. ใน “กฏหมายที่เกี่ยวข้อง” https://www.gpf.or.th/…/1.1.5…/GPF_Statute_No.8_2566.pdf

————————————

มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น

ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนจบสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหุ้นลงทุนได้ด้วยตนเอง

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: