เครื่องหมาย CB ท้ายชื่อหุ้น คืออะไร??

เครื่องหมาย CB ท้ายชื่อหุ้น คืออะไร?? เคยรู้จักแต่เครื่องหมาย C-Caution ที่เตือนให้ระวัง

Caution (C) ท้ายชื่อหุ้น เพื่อเตือนนักลงทุนว่าบริษัทนั้นมีเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจ ต่อมาก็มีต่อท้ายตัว C เพิ่ม คือ CB, CS, CF และ CC

CB (Caution – Business) เตือนว่า บริษัทมีปัญหาเกี่ยวกับฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงาน ได้แก่
– บริษัทไม่มีธุรกิจ
– บริษัทขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี และส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าทุนชำระแล้ว
– ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว
– บริษัทผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน หรือผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้
– หน่วยงานกำกับดูแลมีคำสั่งที่เปิดเผยเป็นการทั่วไปให้แก้ไขฐานะการเงินหรือการดำเนินงาน
– มีการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท และศาลรับคำร้องไว้แล้ว
– ถูกเจ้าหนี้ยื่นฟ้องล้มละลายและศาลรับคำฟ้องไว้แล้ว

CS (Caution – Financial Statements) เตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังข้อมูลในงบการเงินของบริษัท ใน 2 กรณี
– ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
– ก.ล.ต. สั่งให้บริษัทแก้ไขงบการเงิน หรือให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit)

CF (Caution – Free Float) เตือนว่าบริษัทมี Free Float หรือผู้ถือหุ้นรายย่อยน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ อย่างน้อย 150 ราย และถือหุ้นรวมกันมากกว่าหรือเท่ากับ 15% ของทุนชำระแล้ว ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้น และความปันผวนของราคาได้

CC (Caution – Non-Compliance) บริษัทไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ เช่น
– บริษัทมีกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ไม่ครบถ้วนนานเกินกว่า 3 เดือน
– บริษัทมีสินทรัพย์เกือบทั้งหมดในรูปของเงินสดหรือหลักทรัพย์ระยะสั้น ซึ่งสะท้อนว่าบริษัทอาจไม่มีธุรกิจแล้ว

เมื่อมีการขึ้นเครื่องหมาย ตลาดก็จะบอกเพิ่มเติมว่าขึ้นเพราะอะไร สามารถเข้าไปอ่านในหัวข้อข่าวของหุ้นนั้นได้ในเว็บไซต์ของ set ของ JKN ขึ้นเครื่องหมาย CB ศาลรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ, สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยขึ้นเครื่องหมาย DP/DNP/FP/FPG หุ้นกู้ของบริษัท

ข้อมูลเพิ่มเติม DP คือ Default Payment ผิดชำระหนี้, DNP: Default not related to payment มีเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิเกิดขึ้น, FP: Failed to Payไม่สามารถชำระเงินต้น หรือดอกเบี้ยครบถ้วน ตามวันที่กำหนด, FPG: Failed to Pay with Guarantee ไม่สามารถชำระเงินต้น หรือดอกเบี้ย ครบถ้วน ในวันที่กำหนดไว้ ของตราสารหนี้ที่มีประกัน ตัวอย่อเหล่านี้ของตราสารหนี้ สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ของ ThaiBMA

เครื่องหมาย C- Caution เดิม แต่เพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไป เพื่อให้ชัดขึ้นว่า เตือนเกี่ยวกับบริษัทมีปัญหาในส่วนไหน จึงเป็น CB, CS, CF และ CC

………………………………………..
มีการอ่านงบการเงิน และข้อมูลหุ้นจริง ที่เรียบเรียง รวมรวบ เพิ่มเติมรายละเอียดอีกหลายเรื่อง ใน eBook “ส่องหุ้นด้วยงบการเงิน” สั่งซื้อกันได้จาก MEB และ OOKBEE

จาก Mebmarket
http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMzk5MzY0MSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjI1ODc3MCI7fQ

หรือจาก OOKBEE
http://www.ookbee.com/Shop/Book/6d8e08bd-9913-4250-98be-4c9b7de73a44

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น