มาดูงบการเงินของ THAI กัน

ในช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการบินไทยกัน มาดูงบการเงินของหุ้นนี้กัน บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน ชื่อย่อของหุ้นคือ THAI ก่อตั้ง เมื่อปี 2502 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กระทรวงการคลัง ถือหุ้น 51.3%

มาดูในส่วนผู้ถือหุ้นกันก่อน ซึ่งจะเห็นว่าส่วนผู้ถือหุ้นลดลงเรื่อยๆ

บริษัทนี้มีการขาดทุนเรื่อยๆ อาจมีบางปี ที่มีกำไรบ้าง และเมื่อสิ้นปี 2561 บริษัทมีขาดทุนสะสม ถึง 33,215 ลบ. กำไร(ขาดทุน)สะสมนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของ “ส่วนผู้ถือหุ้น”

ซึ่งส่วนประกอบสำคัญของส่วนของผู้ถือหุ้นจะมี 3 ส่วน คือ

1. มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว

2. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนนี้เกิดจากการขายหุ้นเพิ่มทุนได้เกินราคาพาร์ ซึ่งจะถูกบันทึกเข้ามาในส่วนผู้ถือหุ้นตรงนี้

และ 3. กำไร(ขาดทุน)สะสม จะได้มาจากกำไร(ขาดทุน)สุทธิ ที่เหลือจากที่บริษัทได้จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นแล้ว และสะสมเข้ามาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มกิจการจนถึงสิ้นงวดบัญชีนั้นๆ ซึ่งกำไรสะสมนั้นจะแบ่งเป็นที่จัดสรรแล้ว และยังไม่ได้จัดสรร ซึ่งทุนสำรองตามกฏหมายจะอยู่ในส่วนกำไรสะสมจัดสรรแล้ว

และเมื่อสิ้นงวดบัญชี 31 มี.ค 62 บริษัทพอมีกำไรบ้าง และได้ทำการล้างขาดทุนสะสม จึงมีการโยกย้ายทางบัญชีภายใน “ส่วนของผู้ถือหุ้น” เพื่อที่จะล้างขาดทุน โดยใช้ทุนสำรองตามกฏหมาย และ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาล้าง แต่ขอเน้นว่าการล้างขาดทุนสะสมเป็นการโยกย้ายตัวเลขทางบัญชีภายในของ “ส่วนผู้ถือหุ้น” เท่านั้น โดยที่ส่วนของผู้ถือหุ้นโดยรวมไม่เปลี่ยน ซึ่งประโยชน์ของการล้างขาดทุนสะสม เพื่อเพิ่มโอกาสที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับปันผลเมื่อบริษัทเริ่มมีกำไร แต่ไม่ได้ส่งผลอะไรทางบัญชี แค่บัญชีดูสะอาดตา เหมือนได้ตั้งต้นใหม่ แต่ล้างแล้วจะดี บริษัทต้องสามารถทำกำไรเข้ามาได้ไม่ใช่ก็ยังขาดทุนอยู่

แต่ต่อมาหลังจากล้างขาดทุนสะสมเมื่อตอนต้นปี 62 การบินไทยก็ยังมีการขาดทุนต่อเนื่องอยู่ ทำให้เมื่อสิ้นงบปี 62 ที่ผ่านมานี้ ขาดทุนสุทธิ 12,042 ลบ. ซึ่งขาดทุนตรงนี้จะสะสมเข้าไปในส่วนผู้ถือหุ้น ในส่วนของขาดทุนสะสม ทำให้ตอนนี้มีขาดทุนสะสมรวม -19,383.ลบ. และทำให้ส่วนผู้ถือหุ้น ลงมาเหลือ 11,659ลบ. ก็ดูเป็นสถานการณืที่น่าเป็นห่วง เพราะถ้ายังมีขาดทุนสะสมเข้ามาเรื่อยๆ จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบได้

ถ้าการบินไทยจะทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มได้นั้น ก็คือ เพิ่มทุน ซึ่งจะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มจาก “มูลค่าหุ้นที่เรีกชำระแล้ว” และ “ส่วนเกินมูลค่าหุ้น” เพิ่ม หรือการทำให้มี “กำไรสะสม” เพิ่มเข้ามา ก็จะเป็นการเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นให้ดีขึ้นที่ดูดีที่สุด

มาดูภาระหนี้สินของบริษัทการบินไทยกัน มี 3 อัตราส่วนที่ไว้ดูเรื่องหนี้สิน มาดูกันว่าของหุ้น THAI นี้เป็นอย่างไรบ้าง

1. อัตราส่วนแรกที่หลายคนรู้จัก คือ หนี้สิน/ ทุน หรือ D/E ratio มาคิดของบริษัทนี้กัน

D/E = 244,899/ 11,659 = 21 เท่า

กิจการนี้ถือว่าหนี้สินสูงมาก และสูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ถ้าย้อนดู D/E ratio ของปี 61 คือ 12.21 ของปี 61 คือ 7.8 เท่า

2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อดูสภาพคล่องของกิจการว่าสามารถจ่ายชำระหนี้ระยะสั้นเมื่อถึงกำหนดที่ต้องจ่ายได้ไหม

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/ หนี้สินหมุนเวียน

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนที่ดีควรต้อง > 1 เพราะแสดงว่าสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์มาจ่ายหนี้ระยะสั้นได้อย่างไม่มีปัญหา

มาดูของกิจการนี้กัน จะเห็นว่า หนี้สิน 244,899 ลบ. เป็นหนี้สินหมุนเวียน(หนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 1 ปี) ถึง 84,367 ลบ. ในขณะที่สินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งคือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปีมี 49,534 ลบ. ซึ่ง

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = 49,534/ 84,367= 0.59 เท่า

แบบนี้ ถ้ารายได้เข้ามาไม่ทัน การจ่ายหนี้ระยะสั้นซึ่งเป็นหนี้สินส่วนใหญ่จะมีปัญหา

3. ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย เป็นอัตราส่วนอีกอัตราส่วนหนึ่งที่ไว้ใช้ดูปัญหาเรื่องหนี้สิน

ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย(เท่า) คิดมาจาก กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี/ ดอกเบี้ยจ่าย

ถ้าเข้าไปดูงบการเงินในส่วนงบกำไรขาดทุน ของปี 62

กำไรสุทธิ  – 12,042 ลบ.

กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีก็ติดลบแล้ว – 6,593 ลบ.

จะเห็นว่า ส่วนผู้ถือหุ้นที่ลดลงเรื่อยๆ จากขาดทุนสะสมเข้ามาเรื่อยๆ และมีปัญหากับการชำระหนี้สิน จึงทำให้กิจการนี้ถ้าจะอยู่ดำเนินการต่อ คงต้องหาเงินมาหมุนเวียนในกิจการ จากการกู้เงิน และเพิ่มทุน และหวังว่าการปรับโครงสร้างและการบริหารจะสามารถทำให้กิจการมีกำไรเข้ามาได้

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: