ลำดับการชำระหนี้คืนสำหรับหุ้นกู้

ผู้ที่ถือหุ้นกู้นั้นจะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ ซึ่งจะเป็นลำดับที่จะได้รับชำระหนี้คืนก่อนหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญ แต่ในรายละเอียดของหุ้นกู้ ก็มีระดับชั้นที่จะได้รับเงินคืนด้วย หุ้นกู้แบบไหนมีสิทธิได้รับคืนก่อนหลังถ้าบริษัทไปไม่รอด และต้องขายสินทรัพย์มาจ่ายหนี้คืน ไปอ่านกัน…

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากิงค์นี้นะคะ

หุ้นกู้คือ ตราสารหนี้ประเภทหนึ่งนั่นเอง ซึ่งตราสาร คือ เอกสารแสดงสิทธิ ดังนั้นตราสารหนี้ คือ เอกสารแสดงสิทธิเกี่ยวกับหนี้ จริงๆ มันก็คือ สัญญาเงินกู้ นั่นเอง

ไปดูเรื่องมานี และมานะกัน จะเข้าใจ เรื่องของตราสารหนี้มากขึ้น

มานีอยากเปิดร้านส้มตำ จึงขอกู้เงินมานะมา 10,000 บ. และจะยืม 1 ปี

มานะคิดดอกเบี้ย 12% ต่อปี ให้มานีจ่ายค่าดอกเบี้ย เดือนละ 100 บาท และเมื่อครบ 1 ปี ให้มานีจ่ายเงินต้นคืน

คนถือตราสารหนี้ จะได้ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ ตามที่ลูกหนี้ให้สัญญาไว้ และจะได้เงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา ซึ่งในตัวอย่างก็คือ มานะ ดังนั้นคนถือตราสารหนี้ไว้ คือ “เจ้าหนี้” และผู้ออกตราสารหนี้ จะอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” นั่นเอง ดังนั้นมานี คือ ลูกหนี้

โดยลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนสำหรับหุ้นกู้ คือ หุ้นกู้แบบมีประกัน(Secured bond) คือ หุ้นกู้ที่ผู้ออกมีการเอาสินทรัพย์ของบริษัทมาเป็นหลักประกัน อารมณ์เหมือนเวลาเราไปขอกู้เงินจากธนาคาร ก็ต้องมีอะไรไปวางเป็นหลักประกัน ทรัพย์สินที่นำมาประกัน ก็เป็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่ อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ มาเป็นหลักประกัน เช่น เอาตั๋วเงินคลัง หรือหุ้นกู้ของบริษัอื่นที่ตนถืออยู่ที่มีคุณภาพดี ความเสี่ยงต่ำมาเป็นหลักประกันในการออกหุ้นกู้ของบริษัทตน

ส่วนหุ้นกู้ไม่มีประกัน ก็ตรงไปตรงมา ก็คือ ไม่มีทรัพย์สิน ใดๆ มาค้ำประกัน แล้วทำไมถึงมีคนยอมซื้อหุ้นกู้ชนิดนี้ เพราะบริษัทที่ออก เขาใช้ความน่าเชื่อถือของบริษัท ในการออกหุ้นกู้ประเภทนี้ และมักเสนอให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่าแบบมีประกัน การลงทุนในหุ้นกู้แบบนี้ เราจึงต้องดู โอกาสในการจ่ายหนี้คืนจากความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงิน เเละผลประกอบการของผู้ออกหุ้นกู้ และถ้าเกิดบริษัทที่ออกหุ้นกู้ เจ๊ง ต้องเอาทรัพย์สินขายทอดตลาดเราก็จะได้เงินต้นคืนหลังจากหุ้นกู้แบบมีหลักประกันนะ

โดยในส่วนหุ้นกู้แบบไม่มีประกัน ก็อาจจะมีทั้งแบบด้อยสิทธิ และไม่ด้อยสิทธิด้วย

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ที่ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิเท่ากับเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ ในการเรียกร้องให้จ่ายหนี้คืนและ “สูงกว่าผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิ”

ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinate bond) ถ้าเกิดผู้ออก ตราสารหนี้นั้นเกิดเจ๊ง ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในอันดับที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ แต่จะสูงกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญนะ (หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ก็จะมีสิทธิในระดับเดียวกับหุ้นกู้ด้อยสิทธินี้นะ)

ดังนั้นถ้าบริษัทไปไม่รอด ผู้ที่ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิได้รับชำระเงินคืนก่อน โดยมีลำดับในการได้รับชำระหนี้ก่อน คือ หุ้นกู้แบบมีประกัน ต่อมาเป็นหุ้นกู้แบบไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิ และต่อมาคือ หุ้นกู้แบบไม่มีประกันและด้อยสิทธิ และหลังจากชำระหนี้หุ้นกู้ต่างๆ แล้ว ถึงจะเป็นคิวของหุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญ ตามลำดับ ซึ่งคิวหลังๆ ก็จะมีโอกาสได้รับเงินคืนน้อยลงหรืออาจไม่ได้คืน

ดังนั้นในการลงทุนในหุ้นกู้อย่าลืมดูเรื่องสิทธิตรงนี้ด้วยนะ เขาจะมีเขียนไว้

ขออธิบายหุ้นบุริมสิทธิสักเล็กน้อยเผื่อใครสงสัย หุ้นบุริมสิทธิ นั้นจะมีลักษณะกึ่งๆ ระหว่างหุ้นสามัญ กับตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ คำว่า “บุริม” นั้นแปลว่าก่อน คือ คนที่ถือหุ้นบุริมสิทธินั้นจะได้สิทธิในการชำระหนี้ก่อน ผู้ถือหุ้นสามัญ แต่หลังคนที่ถือตราสารหนี้

ทั้งหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ นั้นจะมีส่วนของความเป็นเจ้าของ ดังนั้นจึงถูกบันทึกในส่วนของทุน ซึ่งถ้าเป็นตราสารหนี้หรือหุ้นกู้จะถูกบันทึกในส่วนของหนี้สิน ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จะได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า เงินปันผลเหมือนกัน แต่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธินั้น จะได้เงินปันผลตามที่กำหนดไว้ในใบแสดงสิทธิ แต่คนที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะไม่มีสิทธิมีเสียงในการโหวตต่างๆ ซึ่งความต่างของ 3 หุ้น แสดงไว้ตามรูปด้านล่างนะ

————————————
E-book “ก้าวสู่เป้าหมายด้วยกองทุนรวม”

ที่อธิบายถึงเรื่องของกองทุนรวม ค่าต่างๆ ที่ควรรู้ก่อนลงทุน
วิธีการเลือกกองทุนรวมลักษณะต่างๆ ให้เหมาะกับแผนการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน ตราสารหนี้ การเลือกกองทุนหุ้นแบบ passive และ active fund รวมไปถึงกองทุนประหยัดภาษี

สนใจสามารถเข้าไปทดลองอ่านและสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของ ookbee และ meb ได้เลยนะคะ

OOKBEE: http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

MEB: http://www.ookbee.com/shop/BookInfo?pid=77af1ed2-e980-43d6-ad7b-3f7484dc45ed&affiliateCode=5626f6f3aa214859b5eee9400eca9b15

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: