หุ้นปันผล และมีหักภาษี 10% คือหักจากยอดไหน??

เวลาหุ้นที่เราถืออยู่จ่ายปันผลออกมา ไม่ว่าจะเป็นจ่ายเป็นหุ้น หรือจ่ายเป็นเงินสด จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่ง 10% ตรงนี้คือหักจากยอดไหน โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายปันผลออกมาเป็นหุ้นที่หลายคนสงสัย มาอ่านโพสนี้กันค่ะ

สนใจรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ

เงินปันผลจากหุ้น เป็นรายได้ 40(4) ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี และจะมีการหัก ณ ที่จ่ายไว้ 10% เช่น บริษัทมานะจำกัด มหาชน ประกาศจ่ายปันผล 1 บ. ต่อหุ้น เรามีหุ้นมานะอยู่ 1,000 หุ้น เงินปันผลที่เราจะได้รับคือ 1 บ. X 1,000 หุ้น = 1,000 บ. แต่เราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตรงนี้ 10% ดังนั้นเงินสดที่เราจะได้รับจริงคือ 900 บ. ดังนั้น 10% ตรงนี้จะหักจากยอดปันผลที่จ่ายออกมาให้เรา

และถึงแม้จะได้ปันผลเป็นหุ้น ก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ตรงนี้เหมือนกัน ซึ่งบริษัทที่จ่ายปันผลเป็นหุ้นจะต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดคู่กัน เพราะจะต้องเอาส่วนของเงินสดปันผลไว้สำหรับเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งการคิดภาษีจะคิดจาก (มูลค่าหุ้นปันผล x 10%) + (เงินสดที่จ่ายปันผล x 10%) ดังนั้นผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้เงินสดที่เขาปันผลออกมาด้วยเลยก็ได้ เพราะเขาปันเงินสดออกมาเพื่อเสียภาษีเท่านั้น แต่ถ้าเขาปันผลเป็นเงินสดเกินกว่าภาษีที่ต้องถูกหัก ณ  ที่จ่าย เราก็จะได้เงินสดออกมาถึงมือน้อยกว่าที่เห็นเขาประกาศไว้

เช่น เรามีหุ้นมานะ 1,000 หุ้น บริษัทมานะ มีราคาพาร์คือ 0.5 บ. ประกาศจ่ายปันผลเป็นหุ้น 1 หุ้นเดิม ได้  1 หุ้นปันผล และปันผลเป็นเงินสด 0.5 บ. ต่อหุ้น บางคนอาจเข้าใจว่า  มานะจะได้ปันผลในรอบนี้ออกมาแบบนี้ ได้หุ้นปันผล มา 1,0000 หุ้น เข้าพอร์ตหุ้น และได้เงินสดออกมาด้วย = 1,000 หุ้น x 0.5 บ. = 500 บ. โดยจะได้เงินสดเข้ากระเป๋า 450 บ. เพราะถูกหักภาษี 10% จากยอดเงินสด 500 บ. เท่านั้น

แต่จริงๆ เราจะได้ปันผลในรอบนี้แบบนี้

ได้ปันผลออกมาเป็นหุ้น 1,000 หุ้น เข้าพอร์ตหุ้น และได้เงินสดจริง 400 บ. เพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% แบบนี้

= (มูลค่าหุ้นปันผล x 10%) + (เงินสดปันผล x 10%)

= [(1,000 หุ้น x ราคาพาร์ 0.5 บ.) x 10%] + [(1,000 หุ้น x 0.5) x 10%]

= 50 + 50 บ. = 100 บ. เราจึงถูกหักภาษีไป 100 บ.

จะเห็นว่า ยอดที่ถูกหักภาษีไป 100 บ. เท่ากับ ตัวอย่างข้างบน ที่จ่ายปันผลเป็นเงินสด 1 บ. ต่อหุ้น เพราะมันเป็นลักษณะนี้ คือ บริษัทมานะจะจ่ายปันผล 1 บ. ต่อหุ้น แต่นำเงิน 0.5 บ. เอากลับไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ราคาพาร์เพื่อเอามาให้ผู้ถือหุ้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็ปันผลออกมาเป็นเงินสดอีก 0.5 บ. นั่นเอง

ดังนั้นไม่ว่าจะได้ปันผลเป็นเงินสด หรือได้ปันผลเป็นหุ้น ก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% จากยอดปันผลที่เราได้นะ ซึ่งเงินภาษีที่เราถูกหักไปตรงนี้ สามารถนำไปคิดเครดิตภาษีเงินปันผลได้ตอนที่เรายื่นภาษีบุคคลธรรมดาของเรานะ ซึ่งถ้าใครสงสัยว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร สามารถกดอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้นะคะ

https://doctorwanttime.com/2020/05/07/3/

————————————
มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง แบบเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

คอร์สที่จัดทำสำหรับมือใหม่ลงทุนหุ้น ที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้น
การอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น

เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้ ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

https://www.skilllane.com/courses/i-investor

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

ใส่ความเห็น