หุ้นติด Cash balance คืออะไร

ช่วงนี้หลายคนน่าจะได้ยินข่าว ที่เป็นหุ้นดังในช่วงที่ผ่านมา ติด Cash balance หรืออาจจจะเคยเห็นเครื่องหมาย T1 อยู่ต่อท้ายชื่อหุ้น แล้วการติด cash balance คืออะไร มาอ่านโพสนี้กัน…

สนใรับชมแบบวีดีโอ สามารถกดรับชมได้จากลิงค์นี้นะคะ



เมื่อหุ้นไหนมีการติด cash balance จะมีการขึ้นเครื่องหมาย T (ย่อมาจาก Trading Alert) อยู่ต่อท้ายชื่อหุ้นนั้น ซึ่งการติด cash balance นี้เป็นการบอกว่า หลักทรัพย์นั้นเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย โดยหุ้นที่ติด cash balance นั้นจะเป็นหุ้นที่มีการซื้อขายสูงผิดปกติ ตลาดหลักทรัพย์ จึงมีการสั่งให้หุ้นตัวนั้น ใช้บัญชี cash balance หรือบัญชีเติมเงิน โดยใครจะซื้อหุ้นนี้ต้องใส่เงินสดเต็มจำนวนไว้กับโบรกเกอร์ก่อนจึงจะซื้อหุ้นนี้ได้ และเมื่อสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที ดังนั้นก่อนส่งคำสั่งซื้อขายต้องมีเงินในบัญชีที่เพียงพอสำหรับจ่ายค่าซื้อหุ้นได้นั่นเอง ซึ่งถ้าปกติใครใช้บัญชีเงินสด หรือ cash account ซื้อขายหุ้นอยู่ ที่เงินจะตัดบัญชี 2 วันทำการจากที่ซื้อหุ้น เมื่อมีการคีย์คำสั่งซื้อหุ้นที่ติด cash balance จะมีแจ้งว่าไม่สามารถสั่งซื้อได้ ถ้าจะซื้อต้องโอนเงินเข้าบัญชีหุ้นให้พอสำหรับการสั่งซื้อ

การติด Cash balance เพื่อเป็นการเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย และเพื่อลดความเสี่ยงของนักลงทุน

เกณฑ์ที่บอกว่า มีการเคลื่อนไหวของการซื้อขายที่ผิดปกติ เช่น มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์มากกว่าหรือเท่ากับ 90 ล้านบาทต่อวัน, มีอัตราการหมุนเวียนการซื้อขาย(turn over ratio) ของหุ้นนั้นเกิน 40%, และมีการพิจารณาเรื่องของ P/E (price to earning ratio) พิจารณาร่วมด้วย

ซึ่งในการติด cash balance นั้นจะมี 3 ระดับคือ T1, T2, T3

T1 (Trading Alert Level 1) : ระดับ 1 Cash Balance ต้องซื้อหุ้นนั้นด้วยบัญชีแคชบาลานซ์เท่านั้น โดยวางเงินสดไว้กับโบรกเกอร์เต็มจำนวนก่อนซื้อหุ้นนั้น

T2 (Trading Alert Level 2) :กรณีที่หลักทรัพย์เดิม เข้าเกณฑ์ Trading Alert List ซ้ำเป็นครั้งที่ 2

ระดับ 2 นี้จะห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance คือ ห้ามโบรกเกอร์ใช้หุ้นนั้นเป็นหลักประกันในการคำนวณวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชี และต้องซื้อขายด้วยบัญชีเติมเงิน หรือ Cash balance ต่อไปอีก

T3 (Trading Alert Level 3) : กรณีที่หลักทรัพย์เดิม เข้าเกณฑ์ Trading Alert List ซ้ำเป็นครั้งที่ 3

ระดับ 3 ห้าม Net Settlement, ระดับนี้จะเหมือน level 2 และจะมีการเพิ่มจาก level 2 คือ ห้าม Net Settlement ห้ามโบรกเกอร์หักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหุ้นเดียวกันในวันเดียวกัน (ซื้อและขายหุ้นเดียวกันในวันเดียวกัน ค่าขายคืนเป็นวงเงินในวันทำการถัดไป)

โดยเมื่อเข้าเกณฑ์ครั้งแรก จะได้เป็น level 1 และจะมีเครื่องหมาย T1 ท้ายชื่อหุ้นนั้นๆ ถ้ายังเข้าเกณฑ์ครั้งที่ 2 และ 3 ก็จะขึ้นเป็น level 2 และ 3 ได้ ส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันก็จะเป็น T1

ซึ่งเราสามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ว่า หุ้นนั้นมีการขึ้นเครื่องหมายแจ้งเตือนอะไรบ้าง ตั้งแต่เมื่อไหร่ และจะถึงเมื่อไหร่ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ set และเข้าไปตรงหุ้นที่เราสนใจ กดเลือก สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน และเลื่อนลงมาด้านล่างๆ ของหน้า จะมีข้อมูล การขึ้นเครื่องหมาย(ล่าสุด) และ Market Alert(ล่าสุด) แบบนี้

และถ้าต้องการดูว่า มีหุ้นไหนในตลาดที่ติด Cash balance บ้าง และติดระดับไหน ถึงเมื่อไหร่ จะสามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซต์ของ set และเลือก “ข้อมูลบริษัท/หลักทรัพย์” >> “ข่าวบริษัท/หลักทรัพย์” >> “หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย”  หรือจะกดจากลิงค์นี้ก็ได้นะ https://www.set.or.th/set/cashbalancesecurity.do

การติด cash balance หรือเครื่องหมาย T นี้เป็นเครื่องหมายที่คอยเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขายหุ้นเหล่านี้ เพราะมีการเคลื่อนไหวในการซื้อขายที่ผิดปกติ และต้องใช้บัญชีเติมเงินเท่านั้น จะไม่สามารถใช้บัญชีวงเงิน(ซื้อก่อน อีก 2 วันค่อยจ่ายเงิน) ในการซื้อขายหุ้นเหล่านี้ได้ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือน นักลงทุนก็ควรระมัดระวังในการลงทุนหุ้นนั้น

————————————

คอร์สออนไลน์ I-INVESTOR

คอร์สที่จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การเลือกหุ้นการอ่านงบการเงิน รวมไปถึงการประเมินมูลค่าหุ้น เรียนที่ไหน เมื่อไหร่ ทวนกี่ครั้งก็ได้มาเรียนรู้การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง

ลงทะเบียนเรียนกันได้เลย

Advertisement

Published by DoctorWantTime

แพทย์ผู้ชื่นชอบการลงทุน

One thought on “หุ้นติด Cash balance คืออะไร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: